โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) |
หากจะพูดถึงประชาธิปไตยแบบอเมริกัน จะมีการกล่าวถึง Thomas Jefferson ว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยของสหรัฐ เหมือนกับที่ประธานาธิบดี George Washington เป็นผู้ที่ผู้คนกล่าวถึงในฐานะผู้ต่อสู้และวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศสหรัฐ
โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เป็นประธานาธิบดีคนที่สามของประเทศสหรัฐอเมริกา
เขามีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1743 - 1826 ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 2 สมัยติดต่อกัน ในช่วงปี ค.ศ. 1801 - 1809 และเป็นคนเขียนคำประกาศอิสรภาพ และประกาศจุดยืนการเป็นประชาธิปไตยในแบบสังคมเกษตรของสหรัฐอเมริกา เขาเป็นคนยืนหยัดในการปกครองแบบสาธารณรัฐ และการเป็นประเทศในระบอบประชาธิปไตย ไม่เห็นด้วยกับพวกที่จะหันกลับไปใช้ระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ ดังที่ประเทศฝรั่งเศสที่ได้ปฏิวัติเปลี่ยนเป็นการปกครองในระบบสาธารณรัฐ แต่ท้ายสุดก็กลับไปสู่การปกครองแบบกษัตริย์ในยุคของนโปเลียน เขาเน้นเจตนารมณ์การเคารพสิทธิของประชากร และของรัฐที่เข้าร่วมในสหรัฐอย่างสมัครใจ อาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองที่มีอายุยืนยาวที่สุดใน สังคมตะวันตก คือพรรคเดโมแครต (Democratic Party) ซึ่งมีฐานรากเดิมมาจากพรรครีพับลิกัน (Republican Party) ที่เขาได้ริเริ่มขึ้นในช่วงหลังการก่อตั้งประเทศ
ชีวิตเมื่อเริ่มแรก
โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ.1743 ที่ Shadwell ใน Goochland ซึ่งปัจจุบันคือ เขต Albemarie ในรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในขณะนั้นรัฐเวอร์จิเนียจัดว่าเป็นเขตตะวันตกห่างไกล และในชีวิตของเขาที่บ้านและชีวิตในวัยเด็ก ทำให้เขาได้รับอิทธิพลและแนวคิดประชาธิปไตยแบบเสรี หลังจากเขาเรียนจบที่วิทยาลัยชื่อ College of William and Mary ในปี ค.ศ.1762 เขาได้มีโอกาสศึกษากฎหมายกับ George Wythe
George Wythe First professor of law in America
|
การศึกษา (Education)
ในปี ค.ศ. 1752 เจฟเฟอร์สันไดเริ่มศึกษาในโรงเรียนใกล้บ้านที่ดำเนินการโดย William Douglas ผู้เป็นบาดหลวงชาวสก๊อต เมื่ออายุได้ 9 ปี เขาได้เริ่มศึกษา ภาษาลาติน กรีก และฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1757 เมื่อเขาอายุได้ 14 ปี บิดาเขาได้เสียชีวิตและทิ้งมรดกที่ดิน 5,000 เอเคอร์ หรือประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร พร้อมกับทาสอีกหลายโหล เขาสร้างบ้านที่นั่น และต่อมาได้มีชื่อเป็นที่รู้จักกันว่า Monticello
เมื่อบิดาเสียชีวิตเขาได้รับการศึกษาจากนักบวชชื่อ James Maury ซึ่งเป็นช่วงปี ค.ศ.1758 - 1760 โรงเรียนนั้นอยู่ที่เมือง Fredericksville Parish ใกล้กับเมือง Gordonsville,ในรัฐเวอร์จิเนีย ( Virginia) ซึ่งห่างจาก Shadwell ออกไป 12 ไมล์ หรือประมาณ 19 กิโลเมตร เจฟเฟอร์สันพักอยู่กับครอบครัวของ Maury และที่นั้นเขาได้รับการศึกษาในแบบดั่งเดิม (Classical Education) ควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
James Maury |
ในช่วงปี ค.ศ. 1760 เขาได้เข้าเรียนที่ The College of William & Mary ที่เมือง Williamsburg เมื่อมีอายุได้ 16 ปี เขาเรียนอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี จบการศึกษาโดยได้เกียรตินิยมสูงสุดในปี ค.ศ.1762 ที่มหาวิทยาลัยนี้ เขาได้เรียนวิชาการอย่างกว้างขวาง เช่น ปรัชญา คณิตศาสตร์ Metaphysics เขาสนใจงานเขียนอย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมถึงงานของ John Locke, Francis Bacon, และ Isaac Newton ซึ่งในสามท่านนี้เจฟเฟอร์สันยกย่องให้เป็น 3 คนผู้ยิ่งใหญ่ที่โลกได้เคยสร้างมา
John Locke |
Francis Bacon |
Sir Isaac Newton |
ในขณะที่เรียนเขาได้เรียนภาษาฝรั่งเศสอย่างช่ำชอง เขาจะนำหนังสือภาษากรีกติดตัวไปด้วยในทุกที่ เขาฝึกไวโอลิน และอ่านงาน Tacitus และของ Homer เขาเป็นนักเรียนที่มีความขยันขันแข็ง และมีความสนใจในศาสตร์และศิลปะด้านต่างๆอย่างกว้างขวาง และตามประเพณีในครอบครัว เขาศึกษาเล่าเรียนถึงวันละ 15 ชั่วโมงอยู่บ่อยๆ เพื่อนสนิทของเขา ชื่อ John Page แห่ง Rosewell กล่าวว่า เมื่อได้เวลาเรียน เจฟเฟอร์สันจะหลีกหนีแม้เพื่อนสนิทที่สุด เพื่อไปศึกษาเล่าเรียนในวิธีการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในแบบอังกฤษ เขาพักอยู่ในหอวิทยาลัย ที่ปัจจุบันเรียกว่า Sir Christopher Wren Building และร่วมรับประทานอาหารในห้องประชุมใหญ่ และในยามเช้าและค่ำ มีการสวดมนต์ที่ Wren Chapel แต่ในอีกด้านหนึ่ง Jefferson ได้เข้าร่วมงานสังสรรค์กับผู้ว่าราชการรัฐจากอังกฤษ ชื่อ Francis Fauquier ซึ่งเขาจะเล่นไวโอลินแสดง และมีรสนิยมชอบดื่มไวน์ เมื่อจบการศึกษาในปี ค.ศ.1762 เขาได้รับเกียรตินิยมสูงสุด และได้ศึกษากฎหมายต่อกับ George Wythe และได้รับบรรจุเข้าสู่เนติบัณฑิตสภาแห่งรัฐเวอร์จิเนียในปี ค.ศ. 1767
ครอบครัว
ในปี ค.ศ. 1772 Jefferson ได้แต่งงานกับหม้ายสาวอายุ 23 ปี ชื่อ Martha Wayles Skelton. ทั้งสองมีบุตรธิดารวม 6 คน ซึ่งได้แก่ Martha Jefferson Randolph (1772–1836), Jane Randolph (1774–1775), บุตรชายที่เสียชีวิตเสียก่อนที่จะได้รับการตั้งชื่อ (1777), Mary Wayles (1778–1804), Lucy Elizabeth (1780–1781), และ Elizabeth (1782–1785).
Martha ภรรยาของเขาเสียชีวิตในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ.1782 และเขาไม่เคยได้แต่งงานใหม่อีกหลังจากนั้น แต่จากการศึกษาอาจเป็นไปได้ว่า เขาได้มีความสัมพันธ์กับน้องต่างมารดาของภรรยาที่เป็นทาส ชื่อ Sally Hemings จากหลักฐานทางพันธุกรรมย้อนหลังที่เป็นข้อมูล DNA อาจเป็นไปได้ Jefferson เป็นบิดาของเด็กๆ เหล่านั้น หรืออาจเป็นญาติฝ่ายชายคนใดคนหนึ่งของเขาที่เป็นพ่อของเด็กๆเหล่านั้น
ผู้นำในช่วงประกาศอิสรภาพ
ในช่วงการรวมตัวกันที่เรียกว่า House of Burgesses ช่วงปี ค.ศ.1769 - 1775 เจฟเฟอร์สันได้เป็นผู้นำของกลุ่มรักชาติ เขาเป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการแห่งเวอร์จิเนีย ที่เรียกว่า Virginia Committee of Correspondence เป็นการบ่งบอกถึงสิทธิคนอังกฤษที่อยู่ในอเมริกา (ค.ศ. 1774) เพื่อเตรียมการประชุมสมัชชาแห่งเวอร์จิเนียครั้งแรก เขาได้นำเสนอทัศนะว่ารัฐสภาของอังกฤษไม่มีอำนาจใดๆ ในบริเวณอาณานิคมนี้ และความผูกพันต่ออังกฤษและต่อพระมหากษัตริย์มีเพียงประการเดียว คือการเป็นพันธมิตรโดยสมัครใจ ถึงแม้ในประวัติศาสตร์ เขาไม่ใช่นักพูดที่มีประสิทธิภาพมากนัก แต่เขามีชื่อเสียงในฐานะเป็นคนเขียนมติและร่างต่างๆ
ในช่วงปี ค.ศ.1775 - 1776 เจฟเฟอร์สันเป็นตัวแทนเข้าร่วมการประชุมสภาแห่งทวีปอเมริกาครั้งที่สอง (Second continental Congress) เขาได้ทำหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการในการร่าง “ประกาศอิสรภาพ” (Declaration of Independence) ในร่างนี้ ยกเว้นการแก้ไขเพียงเล็กน้อยจาก John Adams, Benjamin Franklin และคนอื่นๆบางคน ได้มีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภา และงานของเจฟเฟอร์สันทั้งหมดได้สะท้อนความลึกในทฤษฎีการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก John Locke และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสและนักคิดจากยุโรปอื่นๆ
เมื่อเจฟเฟอร์สันได้กลับไปยังเวอร์จิเนียและร่างกฎหมาย โดยหวังว่าจะแปลอุดมคติของเขาไปสู่ความเป็นจริงในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เขาได้ผลักดันให้มีการเลิกกฎหมายให้สิทธิรับมรดกแบบคับแคบตามสายเลือดเฉพาะและแก่ลูกชายคนโต (Primogeniture) แต่กฎนี้ยังมีใช้จนถึง ค.ศ.1785 ในกฎหมายของเขา ได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ด้วยความเชื่อที่ว่าความเชื่อของคนนั้นไม่สามารถไปบังคับได้ กฏหมายนี้ไม่สำเร็จจนกระทั่งในปี ค.ศ.1786 เมื่อ James Madison ได้ทำให้เจตนารมย์นี้ได้กลายเป็นความสำเร็จ
James Madison เจมส์ เมดิสัน |
ในปี ค.ศ. 1779 เจฟเฟอร์สันได้สืบอำนาจต่อจาก Patrick Henry ในฐานะเป็นผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนีย เขาได้ทำหน้าที่นี้ในปีสุดท้ายเมื่อเกิดสงครามปฏิวัติ เมื่อเวอร์จิเนียได้ถูกบุกโดยกองทัพอังกฤษ ด้วยเหตุของความไม่มีเงินและทรัพยากรทางทหาร จึงทำให้เขาประสบความยากลำบาก พฤติกรรมในฐานะเป็นผู้ว่าการของเขาจึงถูกสอบสวนในปี ค.ศ. 1781 แต่ก็หลุดพ้นได้อย่างสมบูรณ์
Minister to France
แผ่นป้ายที่ระลึก ณ Champs-Élysées ในกรุงปารีส ประเทศฝรั้งเศส ณ ที่ๆเขาพักอาศัยในขณะมาทำหน้าที่รัฐมนตรีการฑูต ณ ประเทศฝรั่งเศส ป้ายนี้ได้ติดตั้งในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพื่อเป็นที่ระลึกในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเวอร์จิเนียครบครอบ 100 ปี
เนื่องจาก Jefferson ต้องทำหน้าที่ด้านการฑูตประจำอยู่ในประเทศฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ.1785 - 1789 เขาจึงไม่ได้ร่วมในการประชุมใหญ่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia Convention) เพื่อการร่างและรับรัฐธรรมนูญ แต่เขาให้การสนับสนุนรัฐธรรมนูญใหม่
Philadelphia Convention |
แม้จะมีส่วนที่ว่าด้วยสิทธิของประชาชน (bill of rights) และเขาได้รับข่าวสารเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและอื่นๆ โดยผ่านเพื่อนร่วมความคิดสำคัญ คือ James Madison
James Madison |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Secretary of State
เมื่อกลับจากฝรั่งเศส เจฟเฟอร์สันได้ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลของ ประธานาธิบดีคนแรก คือ Washington (1789–1793) ในระหว่างนั้น เจฟเฟอร์สันและ Alexander Hamilton ซึ่งทำหน้าที่ว่าการกระทรวงการคลังได้มีข้อขัดแย้งกันด้านแนวคิด และการปฏิบัติในนโยบายการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องหนี้สินจากสงคราม โดย Hamilton เห็นว่าหนี้นั้นควรเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน โดยแบ่งกันไปแต่ละรัฐอย่างเท่าเทียมกัน แต่เจฟเฟอร์สันเห็นว่า แต่ละรัฐควรมีความรับผิดชอบในส่วนของตนไปสำหรับหนี้สินที่ได้เกิดขึ้น โดยรัฐเวอร์จิเนียนั้นได้จ่ายหนี้ในส่วนของตนไม่มีอะไรค้าง ก็ไม่ควรต้องมาจ่ายใหม่
ในทางความคิดเจฟเฟอร์สันมีความเห็นขัดแย้งกับฝ่าย Federalists อันเป็นพวกของ Hamilton โดยเขาขนานนามพวกนี้ว่าเป็นดังพวก Tories และพวกนิยมระบบกษัตริย์ในอังกฤษ และเท่ากับไม่ได้ให้ความสำคัญต่อระบบสาธารณรัฐใหม่ที่ได้เกิดขึ้น เขาให้ความหมายของ Federalists ว่าเป็นเท่ากับ “Royalism” หรือพวกสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ และกล่าวกระทบว่าพวกของ Hamilton นั้นเป็นเหมือนพวกที่เลียนแบบพวกนิยมกษัตริย์ และคนที่อยากจะได้สวมมงกุฏกษัตริย์ ( เรื่องนี้เดี๋ยวผมขอแยกออกมาเป็นหัวข้อต่างหากเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริการครับจะได้ไม่สับสนระหว่างรอยัลลิสต์กับเฟดเดอรัลลิสต์ ) เจฟเฟอร์สันและ James Madison ในระยะต่อมาได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมืองที่มีชื่อว่า “พรรคสาธาณรัฐประชาธิปไตย” (Democratic-Republican Party) เขาทำงานใกล้ชิดกับ Madison และฝ่ายจัดการณรงค์หาเสียงที่ชื่อ John J. Beckley เพื่อสร้างเครือข่ายของคนที่เห็นด้วยในแนวทางของเขา เพื่อต่อสู้กับกลุ่ม Federalists ไปทั่วประเทศ
เจฟเฟอร์สัน สนับสนุนฝ่ายฝรั่งเศสในการสู้รบกับอังกฤษ เมื่อเกิดสงครามขึ้นในยุโรประหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1793 โดยนักประวัติศาสตร์ Lawrence S. Kaplan ได้ให้ข้อสังเกตว่าเจฟเฟอร์สันได้สนับสนุนฝ่ายฝรั่งเศสอย่างสุดใจในเหตุของสงคราม แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เห็นด้วยกับประธานาธิบดี Washington ที่จะไม่เข้าข้องเกี่ยวกับสงครามไม่ว่ากับฝ่ายใด การเข้ามาของนักการฑูตตัวแทนฝรั่งเศสที่ชื่อ Edmond-Charles Genêt ได้ทำให้เกิดวิกฤติในบทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ปล่อยให้ Genêt ก้าวล่วงในอธิปไตยของอเมริกา การมาชักจูงเสียงของประชาชนเอง หรือการทำงานข้ามหน้า Washington เพื่อเรียกร้องและปลุกระดมมวลชน โดยหวังว่าเจฟเฟอร์สันจะช่วยฝ่ายฝรั่งเศส โดย Schachner มีความเห็นว่า เจฟเฟอร์สันมีความเชื่อว่าความสำเร็จทางการเมืองในบ้านของตัวเอง เป็นผลมาจากความสำเร็จของกองทัพฝรั่งเศสในยุโรป
เจฟเฟอร์สันมีความเห็นใจในฝรั่งเศส และหวังว่าความสำเร็จของกองทัพฝรั่งเศสในยุโรป จะส่งผลมายังภูมิภาคในอเมริกา เขากังวลว่าหากเหตการณ์แปรผันเป็นตรงกันข้ามในสนามรบในยุโรป ก็จะทำให้พวกนิยมในระบบกษัตริย์ในอเมริกาได้พลังเพิ่ม และมีผลต่อทิศทางของระบบการปกครองในประเทศใหม่นี้ “จริงๆแล้วข้าพเจ้ากลัวว่าในฤดูร้อนนี้ หากมีวิบัตภัยเกิดขึ้นกับฝรั่งเศส มันจะทำให้พลังของฝ่ายเชื่อมั่นในระบบสาธารณรัฐถดถอยไป ซึ่งข้าพเจ้าหวังอย่างยิ่งว่า เราน่าจะได้มีการปฏิรูป”
การหยุดงานในตำแหน่งบริหาร A break from office
ในช่วงของการบริหารงานของประธานาธิบดี Washington เจฟเฟอร์สันไม่ได้มีความขัดแย้งเพียงกับฝ่าย Federalists ที่ประกอบด้วยพวกของ Hamilton และคณะรัฐมนตรีทั้งหลาย จริงๆแล้ว ประธานาธิบดี Washington วางตัวเป็นฝ่ายไม่มีพรรคและพวก อยู่เหนือความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรี และตัดสินใจทั้งมวลด้วยหตุผลแห่งผลประโยชน์ของประเทศ แต่โดยรวมแล้ว เขาต้องอาศัยและเห็นตามไปกับฝ่ายของ Hamilton เป็นส่วนใหญ่
ความคิดเห็นของเจฟเฟอร์สันจึงกลายเป็นชนส่วนน้อย และท้ายที่สุดในปี ค.ศ.1793 เขาถอนตัวจากการเป็นคณะรัฐมนตรีของวอร์ชิงตัน และกลับไปยังบ้านที่ Monticello แต่ยังเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับ Hamilton และ Washington
อย่างไรก็ตามเมื่อมีสัญญา Jay Treaty ในปี ค.ศ. 1794 ที่ Hamilton ได้ประชาสัมพันธ์ว่าเป็นการนำสันติภาพและการค้ากับอังกฤษกลับมาสู่สหรัฐอีกครั้ง แต่ Madison ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเจฟเฟอร์สันต้องการในลักษณะตรงกันข้าม คือการ “รัดคออดีตเมืองแม่อย่างอังกฤษ” ดังนโยบายปิดกั้นทางการค้า เพราะการใช้การค้าเป็นอาวุธ จะทำให้อังกฤษต้องยอมตามในสิ่งที่สหรัฐต้องการ
The Jay Treaty, negotiated in 1794 and ratified 1795; in effect 1795-1805 |
การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1796 และตำแหน่งรองประธานาธิบดีThe 1796 election and Vice Presidency
เมื่อหมดสมัยของ Washington และในฐานะเป็นตัวแทนของพรรค Democratic-Republican ในปี ค.ศ. 1796 เขาแพ้ในการเลือกประธานาธิบดีให้แก่ John Adams แต่ก็มีเสียงเพียงพอที่จะได้เป็นรองประธานาธิบดี (Vice President) ในปี ค.ศ.1797 - 1801 ซึ่งโดยบทบาทของรองประธานาธิบดี เขาต้องเป็นประธานในการประชุมวุฒิสภา เขาได้เขียนคู่มือว่าด้วยการดำเนินการในรัฐสภา เรียกว่า a manual of parliamentary procedure แต่โดยรวมก็ไม่ได้มีบทบาทในวุฒิสภามากนัก
ในช่วงสมัยที่มีการเตรียมพร้อมที่จะเข้ารบกับฝรั่งเศส ที่เรียกว่า “สงครามครึ่งๆกลางๆ (Quasi-War) ได้มีการเตรียมการสะสมกำลังทัพเรือ ฝ่าย Federalists ในรัฐบาลของ John Adams ได้เริ่มสะสมกำลังทัพเรือ สร้างกองทัพบก เรียกเก็บภาษีเพิ่มและพร้อมที่จะเข้ารบ มีการกำหนดห้ามฝ่ายที่จะเป็นฝ่ายตรงกันข้ามที่จะได้สิทธิเป็นพลเมือง ด้วยวิธีการกีดกัน ดังในกฎหมาย Alien and Sedition Acts ในปี ค.ศ.1798 เจฟเฟอร์สันมองว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นการโจมตีพรรคของเขามากกว่าจะไปจัดการกับฝ่ายศัตรู การโจมตีนี้มาจาก Matthew Lyon, วุฒิสมาชิกที่มาจากรัฐ Vermont.
เจฟเฟอร์สันและ Madison ได้รณรงค์เพื่อสนับสนุนข้อเขียน Kentucky and Virginia Resolutions, ซึ่งประกาศว่ารัฐบาลกลางไม่มีสิทธิที่จะใช้อำนาจที่ไม่ได้มีการมอบหมายให้ โดยรัฐต่างๆ ข้อตกลงนี้หมายความว่า หากรัฐบาลกลางต้องการใช้อำนาจที่รัฐต่างๆไม่ได้มอบหมายให้ รัฐมีสิทธิที่จะละเสีย และไม่ปฏิบัติตามได้ ข้อตกลงนี้เป็นคำประกาศว่าสิทธิของรัฐ (States) รัฐมีสิทธิไม่ยอมรับ หรือเข้าขัดขวางได้
โดยแนวคิดแล้ว ประชาธิปไตยในแนวทางของเจฟเฟอร์สัน จะมีลักษณะให้ความสำคัญต่อบุคคลสูง ให้สิทธิของแต่ละรัฐ และการให้รัฐบาลกลางมีอำนาจอย่างจำกัด
เมื่อเป็นผู้นำพรรครีพับลิกัน
ในช่วงปี ค.ศ.1783 - 1784 เจฟเฟอรสันได้เข้าร่วมสภาแห่งทวีป (Continental Congress) เมื่อเขาได้มีส่วนร่างระบบหลักสิบ (Decimal System) ในด้านการเงิน แทนที่จะเป็นระบบปอนด์แบบอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1785 เจฟเฟอร์สันได้เป็นตัวแทนและสร้างความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสแทน Benjamin Franklin และได้มีส่วนเห็นการปฏิวัติฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ.1789 ซึ่งเขามีความเห็นใจในฝรั่งเศส ความพยายามของเขา ร่วมด้วย John Adams ในการเจรจาสัญญาทางการค้ากับอังกฤษทำให้เขาตระหนักในความเห็นแก่ตัวของประเทศของเขา และเมื่อเขากลับมาเขาได้รับหน้าที่ให้ช่วยงานในฐานะรัฐมนตรีการต่างประเทศ หรือเรียกว่า Secretary of State
ในช่วงการยกร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงรับรองนั้น เจฟเฟอร์สันไม่อยู่ในประเทศ แต่เขาสนับสนุนการมีรัฐบาลกลางที่แข็งแกร่ง แต่เมื่อมีการกล่าวถึงสิทธิประชาชน (Bill of Rights) กลับไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยไม่ได้ตระหนักถึงอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์ในช่วงที่เขาไม่อยู่ เขาไม่ได้ตระหนักถึงการคุกคามสังคมเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากข้อเสนอของ Alexander Hamilton ซึ่งเป็นคู่แข่ง และขั้วทางการเมืองที่ต่างกันกับเขาในช่วงนั้น เขาไม่ได้เรียกตัวเองว่าเป็นพวกเห็นด้วยกับการมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง (Federalist) หรือเป็นพวกต่อต้าน แต่เป็นพวกที่ต้องการสร้างความเป็นปึกแผ่นและความร่วมมือให้เกิดขึ้นกับรัฐบาลใหม่
เจฟเฟอร์สันไม่ได้ต่างจาก Hamilton จนกระทั่งเริ่มแตกแยกกันในทิศทางที่จะชักจูงให้อังกฤษปล่อยป้อมและกำลังทหารในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งยังขัดกับขัอตกลงที่กระทำ ณ กรุงปารีสในปี ค.ศ.1783 เจฟเฟอร์สันเห็นด้วยกับวิธีการกดดันทางเศรษฐกิจด้วยการห้ามการนำเข้าสินค้าจากอังกฤษ แต่ Hamilton ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะเสียรายได้และทำให้แผนด้านการเงินของประเทศได้รับผลกระทบ เจฟเฟอร์สันไม่เห็นด้วยกับ Hamilton ในการจัดตั้งธนาคารแห่งชาติ (The Bank of the United States) ด้วยเหตุที่ว่ารัฐธรรมนูญไม่สามารถให้กระทำได้แต่ในที่สุด Hamilton ก็เป็นฝ่ายชนะ
ด้วยความที่กลัวว่าประเทศจะกลับไปสู่ระบบกษัตริย์ เจฟเฟอร์สันได้กลายเป็นผู้นำของกลุ่มต่อต้านการมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง (Anti-Federalist Forces) เขาได้รวบรวมคนที่มีความคิดคล้ายกันที่เรียกตัวเองว่า พวกนิยมระบบสาธารณรัฐ (Republicans) ซึ่งในที่นี้หมายถึงพวกที่เห็นด้วยกับการทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระบบ สาธารณรัฐ (Republic) หรือพวกที่มีความเชื่อในระบอบสาธารณรัฐ และกลุ่มนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของพรรคเดโมแครต (Democratic Party) กลุ่มนี้มีการจัดตั้ง และในปี ค.ศ. 1791 มีหนังสือพิมพ์ของตนมีชื่อว่า National Gazette มีบรรณาธิการชื่อ Philip Freneau ทำหน้าที่ในการกระจายข่าวและความรู้สึกในการดำรงความเป็นระบอบสาธารณรัฐเอาไว้ ไม่ใช่กลับไปสู่การมีระบบกษัตริย์เหมือนอย่างของอังกฤษ
เพราะความที่ทั้งเจฟเฟอร์สันและ Hamilton ต่างมีความระแวงต่อกัน และประธานาธิบดีวอร์ชิงตันเองก็ไม่สามารถประนีประนอมได้ เจฟเฟอร์สันจึงลาออกจากคณะรัฐมนตรี และในระยะต่อมาเขาเป็นฝ่ายวิจารณ์ Jay’s Treaty ที่ได้กำหนดโดย Hamilton
สนธิสัญญาเจย์ในปี ค.ศ.1794 หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Treaty of London เป็นการตั้งชื่อให้เกียรติแก่ศาลสูงของสหรัฐชื่อ John Jay ที่ได้ทำความตกลงหลังสงครามประกาศอิสรภาพระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1794 เพื่อยุติข้อพิพาทใดๆ ที่ยังค้างคาอยู่อันเป็นผลมาจากสงครามประกาศอิสรภาพ (American Revolutionary War)
พรรคของเจฟเฟอร์สันสามารถเลือกเขาให้เป็นรองประธานาธิบดีในปี ค.ศ.1796 เนื่องด้วยตำแหน่งนี้จะได้แก่คนที่แข่งขันประธานาธิบดีและมีคะแนนเป็นอันดับ ที่สอง ในช่วงดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหาร เขาทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมรัฐสภา มีส่วนเขียนคู่มือการประชุมรัฐสภาในปี ค.ศ.1801 ในช่วงเวลาดัง กล่าวได้มีกลุ่มต่างๆ มาสนับสนุนเจฟเฟอร์สันมากขึ้นมีฐานทั้งในพื้นที่ต่างๆ และมีจำนวนคนก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ในขณะที่กลุ่ม Federalists เริ่มขัดแย้งกันเองและเริ่มเสื่อมลงไป เจฟเฟอร์สันเป็นฝ่ายเห็นด้วยกับการที่รัฐแต่ละรัฐจะมีอำนาจและสิทธิที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
สนธิสัญญาเจย์ในปี ค.ศ.1794 หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Treaty of London เป็นการตั้งชื่อให้เกียรติแก่ศาลสูงของสหรัฐชื่อ John Jay ที่ได้ทำความตกลงหลังสงครามประกาศอิสรภาพระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1794 เพื่อยุติข้อพิพาทใดๆ ที่ยังค้างคาอยู่อันเป็นผลมาจากสงครามประกาศอิสรภาพ (American Revolutionary War)
พรรคของเจฟเฟอร์สันสามารถเลือกเขาให้เป็นรองประธานาธิบดีในปี ค.ศ.1796 เนื่องด้วยตำแหน่งนี้จะได้แก่คนที่แข่งขันประธานาธิบดีและมีคะแนนเป็นอันดับ ที่สอง ในช่วงดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหาร เขาทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมรัฐสภา มีส่วนเขียนคู่มือการประชุมรัฐสภาในปี ค.ศ.1801 ในช่วงเวลาดัง กล่าวได้มีกลุ่มต่างๆ มาสนับสนุนเจฟเฟอร์สันมากขึ้นมีฐานทั้งในพื้นที่ต่างๆ และมีจำนวนคนก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ในขณะที่กลุ่ม Federalists เริ่มขัดแย้งกันเองและเริ่มเสื่อมลงไป เจฟเฟอร์สันเป็นฝ่ายเห็นด้วยกับการที่รัฐแต่ละรัฐจะมีอำนาจและสิทธิที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
พวก Federalists หมายถึงพวกหรือพรรคที่ต้องการความแข็งแกร่งของรัฐบาลกลาง ซึ่งต่างจากพวก Republicans นำโดยเจฟเฟอร์สัน ที่เห็นการเป็นประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม และรัฐบาลกลางมีบทบาทน้อย เท่าที่จำเป็น
เมื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีพรรครีพับลิกันได้รับชัยชนะอย่างง่ายดายจากการเลือกตั้ง และมีคนกล่าวว่าในการเลือกตั้งปี ค.ศ.1800 นั้นเป็นการปฏิวัติแห่งปี ค.ศ.1800 เมื่อคะแนนของ Aaron Burr ผู้ซึ่งหวังจะชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี แต่มีคะแนนเท่ากับเจฟเฟอร์สัน การเลือกจึงตกอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาล่าง หลังจากได้อภิปรายกันนานแต่เกิดคะแนนก่ำกึ่ง จนกระทั่งฝ่าย Hamilton ได้หันไปแนะนำให้ฝ่าย Federalists สนับสนุนเจฟเฟอร์สันด้วยเห็นว่ามีอันตรายน้อยกว่า Burr
Aaron Burr เป็นนักการเมืองที่มีฐานเสียงสำคัญมาจากทางรัฐนิวยอร์ค เป็นคู่ปรับทางการเมืองอีกคนหนึ่งของ Hamilton
เจฟเฟอร์สันได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ณ กรุง วอชิงตัน ดี.ซี เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มีที่ทำงานในเมืองนี้ เมืองที่เขามีส่วนร่วมออกแบบ เมื่อเขาดำรงตำแหน่ง เขาได้นำบรรยากาศของความเรียบง่ายแบบรีพับลิกันเข้ามาสู่เมืองหลวง มีการตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง จัดคนของพรรครีพับลิกันเข้าทำหน้าที่แทนคนจากพรรค Federalist และลดอำนาจของฝ่ายตุลาการลง ด้วยมีความเชื่อว่าฝ่าย Federalists ต้องการใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างฐานอำนาจในรัฐบาล เขาเชื่อว่ารัฐบาลกลางควรทำหน้าที่มากที่สุดทางด้านการต่างประเทศ ปล่อยให้การบริการรัฐและท้องถิ่นเป็นเรื่องอิสระตามแต่ท้องถิ่นจะดำเนินการ
แม้ว่าจะมีความเชื่อในเรื่องการมีรัฐบาลกลางที่มีอำนาจอย่างจำกัด แต่เจฟเฟอร์สันก็ได้ผลักดันให้มีการซื้อรัฐลุยเซียน่า (Louisiana) ทั้งๆที่การกระทำนี้ไม่ได้ระบุอำนาจในรัฐธรรมนูญ เขามีความสนใจในการขยายดินแดนไปทางตะวันตก และทำการสำรวจที่ทำให้มีการสนับสนุนการเดินทางสำรวจโดย Lewis และ Clark ในการขยายแผ่นดินมาทางใต้ เขาเห็นด้วยกับการซื้อฟลอริดาและผนวกเข้ากับแผนซื้อลุยเซียน่า แต่การที่จะพยายามทำให้ได้ความยอมรับจากฝ่ายสเปนนั้น ทำให้เกิดความแตกแยกภายในพรรค และได้รับการโจมตีจาก John Randolph ในรัฐสภา
ปรัชญาการเมือง (Political philosophy)
เจฟเฟอร์สันเป็นผู้นำด้านความคิดและการ พัฒนาความเป็นสาธารณรัฐของสหรัฐอเมริกา เขาชี้ให้เห็นระบบขุนนางแบบอังกฤษ (Aristocratic System) ว่าเป็นเหตุแห่งการฉ้อฉล และการที่อเมริกาจะเป็นอิสระได้ คือการต้องหลุดพ้นจากระบบดังกล่าว ในช่วงทศวรรษ ค.ศ.1790 เขาเตือนว่าแนวความคิดของ Hamilton และ Adams ที่พยายามจะสถาปนาระบบกษัตริย์ในแบบอังกฤษขึ้นในสหรัฐอเมริกา จะเป็นตัวบ่อนทำลายความเป็นสาธารณรัฐใหม่นี้ เขาสนับสนุนสงครามปี ค.ศ.1812 ในยุคประธานาธิบดี Madison ที่ทำต่ออังกฤษ โดยหวังว่าจะเป็นการผลักดันการทหารของอังกฤษออกจากแคนาดา ทัศนะค่านิยมของเจฟเฟอร์สันที่มีต่อประเทศคือ การเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ควรให้ความสำคัญต่ออาชีพหลักของประชากร ซึ่งตรงกันข้ามกับความคิดของฝ่าย Alexander Hamilton ที่เล็งเห็นความรุ่งเรืองของชาติในฐานะเป็นชาติอุตสาหกรรมและการค้าขาย ซึ่งเจฟเฟอร์สันเห็นว่าในแนวทางดังกล่าวเป็นเหตุแห่งการคอรัปชั่น เพราะเห็นว่าชาติที่เกิดใหม่อย่างอเมริกานั้นควรหลีกเลี่ยงความน่ากลัวของการแบ่งชนชั้นในแบบใหม่ที่เกิดขึ้นกับสังคมอุตสาหกรรมในยุโรป
หลักการและแนวคิดทางการเมืองแบบสาธารณรัฐของเขานั้นได้รับอิทธิพลจาก “พรรคชนบท” (Country Party) ในศตวรรษที่ 18 ที่มีนักเขียนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามในอังกฤษนำเสนอ เขาได้รับอิทธิพลจาก John Locke โดยเฉพาะในส่วนของสิทธิที่ไม่สามารถพรากไปได้ (Inalienable rights) นักประวัติศาสตร์ได้มองเห็นแนวคิดของเขาที่ได้รับอิทธิพลจากนักคิดแห่งยุคอย่าง Jean-Jacques Rousseau ของฝรั่งเศส
เจฟเฟอร์สันเชื่อในสิทธิที่ไม่สามารถจะพรากไปจากบุคคลได้ (Certain inalienable rights) สิทธิของคนหรือของมนุษย์นี้ แม้มีหรือไม่มีรัฐบาล ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะพรากสิทธินี้หรือนำไปให้ผู้อื่นใดได้
สิทธิที่จะมีเสรีภาพ (Liberty) ซึ่งเจฟเฟอร์สันได้ให้ความสำคัญอย่างมาก เขาให้คำจำกัดความของเสรีภาพนี้ว่า เป็นสิทธิที่จะไม่มีการขวางกั้น ตราบเท่าที่สิทธินี้ไม่ไปบดบังสิทธิของผู้อื่นที่ต้องมีอย่างเท่าเทียมกัน และเขาได้กล่าวว่า “เขาไม่ได้หมายความว่าสิทธิตามกฎหมาย” เพราะกฎหมายอาจมีการกำหนดโดยเผด็จการ แม้เจฟเฟอร์สันจะกล่าวว่าสิทธินี้ รัฐบาลจะไม่สามารถสร้างสิทธิที่จะมีเสรีภาพนี้แก่บุคคล แต่รัฐบาลก็มีสิทธิ หากสิทธินี้มีบุคคลใดใช้เพื่อเสรีภาพแห่งตนจนเป็นเหตุให้คนอื่นๆต้องสูญเสียสิทธิและเสรีภาพนั้นไป หน้าที่ของรัฐบาล ตามความหมายของเจฟเฟอร์สัน คือการห้ามหรือป้องก้นไม่ให้บุคคลในสังคมไปกระทำการปิดกั้น หรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
ในด้านความเชื่อในความเท่าเทียมกันของมนุษย์ เขาได้แสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วยการยกเลิกกฎหมายดั่งเดิม ที่ให้สิทธิของบุตรชายคนแรก ที่จะเป็นผู้รับมรดกในที่ดินและทรัพย์สินของตระกูล
ความเชื่อในเรื่องของ ศีลธรรม เขาเชื่อว่าบุคคลต้องมีสำนึกในศีลธรรม ที่จะทำในสิ่งต่างๆ ที่จะต้องแยกระหว่างความถูกและความผิดในการที่จะมีต่อคนอื่นๆด้วย เขาต้องสำนึกตลอดเวลาว่าคนอื่นๆ ย่อมมีสิทธินี้เช่นเดียวกันกับเขา เจฟเฟอร์สันมีความเชื่อว่าหากประชาชนมีสำนึกในสิทธิของตนเองและผู้อื่นๆอย่างเพียงพอแล้ว แม้บ้านเมืองจะปกครองอย่างเป็นอนาธิปไตย (anarchist society) สังคมนั้นๆ ก็จะดำรงอยู่ได้อย่างดี หากมันมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปนัก ในหลายโอกาส เขาได้แสดงความชื่นชมต่อคนพื้นเมืองที่เป็นชนเผ่าโบราณ ที่คงอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีกฎหมายในแบบสมัยใหม่เขียนเอาไว้ ในบางครั้งแนวคิดของเจฟเฟอร์สันมีลักษณะเป็นปรัชญาอนาธิปไตย (philosophical anarchist)
ความเชื่อในเรื่องของ ศีลธรรม เขาเชื่อว่าบุคคลต้องมีสำนึกในศีลธรรม ที่จะทำในสิ่งต่างๆ ที่จะต้องแยกระหว่างความถูกและความผิดในการที่จะมีต่อคนอื่นๆด้วย เขาต้องสำนึกตลอดเวลาว่าคนอื่นๆ ย่อมมีสิทธินี้เช่นเดียวกันกับเขา เจฟเฟอร์สันมีความเชื่อว่าหากประชาชนมีสำนึกในสิทธิของตนเองและผู้อื่นๆอย่างเพียงพอแล้ว แม้บ้านเมืองจะปกครองอย่างเป็นอนาธิปไตย (anarchist society) สังคมนั้นๆ ก็จะดำรงอยู่ได้อย่างดี หากมันมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปนัก ในหลายโอกาส เขาได้แสดงความชื่นชมต่อคนพื้นเมืองที่เป็นชนเผ่าโบราณ ที่คงอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีกฎหมายในแบบสมัยใหม่เขียนเอาไว้ ในบางครั้งแนวคิดของเจฟเฟอร์สันมีลักษณะเป็นปรัชญาอนาธิปไตย (philosophical anarchist)
ความคิดในแบบใกล้อนาธิปไตย เขาได้กล่าวถึงในจดหมายที่เขียนถึงนายพัน Carrington ว่า “สังคมคนพื้นเมืองอย่างอินเดียนนั้น เขาอยู่กันอย่างไม่มีรัฐบาล เขาชื่นชมในการอยู่กันได้อย่างมีความสุขเสียยิ่งกว่าคนที่อาศัยอยู่ในสังคม ภายใต้รัฐบาลในแบบยุโรป” แต่อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่า “อนาธิปไตยจะไม่ค่อยสอดคล้องกับขนาดสังคมที่ใหญ่ขึ้น มีประชากรมากขึ้น” ดังนั้นเขาจึงไม่ส่งเสริมให้รัฐบาลของประเทศสหรัฐได้ขยายใหญ่จนเกินไป และอยากให้อยู่ในระดับที่จะบริหารกันได้
เราตระหนักในข้อเท็จจริงว่า มนุษย์ทุกคนถูกสร้างมาให้มีความเท่าเทียมกัน มีความเป็นอิสระ และสิทธิที่จะเท่าเทียมกันนี้ไม่สามารถพรากไปจากเขาได้ และสิ่งที่สำคัญคือการต้องผดุงรักษาชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข และเพื่อมุ่งสู่จุดหมายนี้ รัฐบาลถูกสร้างขึ้นมาในหมู่คน ด้วยความยอมรับของคนที่จะถูกปกครอง และเมื่อใดที่รัฐบาลที่เขาได้ยอมรับนี้ ได้กระทำการที่ทำลายและที่ไม่ไปสู่จุดหมายของประชาชน จึงเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเลิกรัฐบาลนี้เสีย และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น โดยมีฐานรากและหลักการที่ว่า อำนาจในการจัดตั้งนี้เป็นส่วนสำคัญต่อความปลอดภัยและความสุขของประชาชน
สิทธิของผู้ถูกปกครอง เห็นควรว่าจะรับผิดชอบเฉพาะในชีวิตของแต่ละบุคคล ไม่สามารถนำไปผูกพันกับคนในรุ่นก่อนหน้านั้น ทั้งนี้รวมถึงการเป็นหนี้ตามกฎหมาย หนี้นั้นไม่สามารถถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ “โลกเป็นของเฉพาะคนที่ยังมีชีวิต” เขาได้คำนวณว่า แม้กฎหมายดังรัฐธรรมนูญนั้น ก็มีอายุและวงจรในทุก 19 ปี ก็ควรจะหมดอายุ และอายุของคนที่จะมีบรรลุนิติภาวะ เขาก็ให้ไว้ที่ 19 ปี เมื่อคนโตพอที่จะรับผิดชอบในชีวิตด้วยเหตุผลของเขาเอง เขาเห็นว่า “หนี้ของชาติ” (National Debt) ควรจะต้องกำจัดออกไป เขาไม่เชื่อว่าคนในรุ่นหนึ่งจะต้องไปรับผิดชอบกับหนี้สินที่ได้ก่อขึ้นก่อนหน้านั้น การจ่ายหนี้ที่สร้างด้วยคนรุ่นก่อน หากจะมีการจ่าย ก็เป็นเรื่องของความใจกว้าง แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะมีการเรียกร้องสิทธิกัน หรือเป็นเรื่องที่บังคับหรือผูกพันให้คนรุ่นหลังต้องรับผิดชอบ
การยืนหยัดในสิทธิของรัฐ (States)
เจฟเฟอร์สันเป็นผู้ที่เชื่อในเรื่องของสิทธิของแต่ละรัฐ โดยเฉพาะในกรณีของรัฐเคนตักกี้และเวอร์จิเนีย (Kentucky and Virginia) ที่ได้มีข้อยุติในปี ค.ศ.1798 ที่จะขยายอิทธิพลและอำนาจของรัฐบาลกลาง แต่ในทางกลับกัน นโยบายการต่างประเทศของเขาเป็นเรื่องไปทำให้ต้องมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง ยิ่งขึ้น ที่สำคัญที่สุด คือการซื้อรัฐลุยเซียน่าในปี ค.ศ.1803 เมื่อเขาใช้อำนาจและอิทธิพลของรัฐบาลกลาง ในการผนวกเขตแดนที่เคยเป็นของฝรั่งเศสและลูกหลานของอินเดียนแดงพื้นเมือง การที่เขาได้มีนโยบายปิดกั้นการค้ากับยุโรป (Embargo Act of 1807) ในปี ค.ศ. 1807 ซึ่งนับเป็นนโยบายที่ล้มเหลว และในอีกด้านหนึ่งแสดงให้เห็นว่านโยบายของรัฐบาลกลางดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ในท้องถิ่นอย่างไร และซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่การเกิดสงครามในปี ค.ศ.1802
ทัศนะต่อระบบศาล Views on the judiciary
เจฟเฟอร์สันได้รับการศึกษาที่จะเป็นนักกฏหมาย แต่เขาเป็นนักเขียน ไม่เคยสะดวกใจที่จะพูด และเคยว่าความมานับเป็นร้อยๆราย แต่เขามีทัศนะที่ไม่ดีนักต่อศาล เขามีความเชื่อว่าศาล (Judges) ควรเป็นฝ่ายเทคนิคที่เชี่ยวชาญ แต่ไม่ควรมีบทบาทในการกำหนดนโยบาย เขาเห็นว่าการตัดสินของศาลในกรณี Marbury v. Madison เป็นการละเมิดหลักการประชาธิปไตย แต่เขาไม่มีเสียงสนับสนุนในรัฐสภาเพียงพอที่จะแก้กฏหมายดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามแนวคิดของเขา แต่เขาก็ได้แสดงความคิดตอบโต้ของเขาลงใน judicial review:
ในการพิจารณาว่าศาลเป็นแหล่งสูงสุดที่จะตีความคำถามที่มีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ นับเป็นลัทธิที่อันตรายมากจริงๆ และทำให้เราต้องไปตกอยู่ภายใต้การกดขี่ของอำนาจคณาธิปไตย (Oligarchy) ศาลของเราเป็นคนซื่อสัตย์เหมือนกับคนอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นมากกว่านั้น ศาลท่านก็มีความโลภ โกรธ หลงในการมีพรรคพวก ในอำนาจ และสิทธิประโยชน์ทั้งปวง ศาลมีสิทธิดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต ซึ่งเป็นอำนาจที่อันตราย ที่ไม่ต้องรับผิดชอบ เหมือนกับตำแหน่งอื่นๆ ที่จะต้องได้รับเลือกตั้งเข้ามา ……
ทัศนะของเจฟเฟอร์สันจะต่างจาก Madison เพื่อนร่วมความคิด และประธานาธิบดีคนต่อไป ตรงที่ Madison เห็นในความสำคัญของการมีศาลและระบบตุลาการ เป็นหนึ่งในอำนาจถ่วงดุลก้บอีกสองอำนาจ คือฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ
อย่างไรก็ตาม หัวหน้าศาลสูงที่ดำรงตำแหน่ง และแต่งตั้งมาโดย John Adams และเป็นสมาชิกในพรรค Federalists คือ John Marshall ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเวลานานที่สุดในประวัติศาสตร์ผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุด และได้มีส่วนสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครองประเทศในช่วงแห่งการก่อตั้ง ประเทศใหม่นี้
Marshall ได้ตัดสิน และได้เขียนคำตัดสินของศาลสูง ( Supreme Court) ซึ่งรวมถึง
Marshall ได้ตัดสิน และได้เขียนคำตัดสินของศาลสูง ( Supreme Court) ซึ่งรวมถึง
- Marbury v. Madison, 5 U.S. (1 Cranch) 137 (1803)
- Fletcher v. Peck, 10 U.S. 87 (1810)
- McCulloch v. Maryland, 17 U.S. 316 (1819)
- Dartmouth College v. Woodward, 17 U.S. 518 (1819)
- Cohens v. Virginia, 19 U.S. 264 (1821)
- Gibbons v. Ogden, 22 U.S. 1 (1824)
- Worcester v. Georgia, 31 U.S. 515 (1832)
- Barron v. Baltimore, 32 U.S. 243 (1833)
- Fletcher v. Peck, 10 U.S. 87 (1810)
- McCulloch v. Maryland, 17 U.S. 316 (1819)
- Dartmouth College v. Woodward, 17 U.S. 518 (1819)
- Cohens v. Virginia, 19 U.S. 264 (1821)
- Gibbons v. Ogden, 22 U.S. 1 (1824)
- Worcester v. Georgia, 31 U.S. 515 (1832)
- Barron v. Baltimore, 32 U.S. 243 (1833)
Marshall ได้ทำงานในตำแหน่งหัวหน้าศาลสูงในยุคของประธานาธิบดี 6 คน ตั้งแต่คนแรก คือ John Adams และตามด้วย Thomas Jefferson, James Madison, James Monroe, John Quincy Adams และท้ายสุดในยุคของ Andrew Jackson
โดยทางการเมืองแล้ว Marshall เป็นฝ่ายสนับสนุนพวกเห็นด้วยกับการมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง (Federalists) และเป็นปรปักษ์กับฝ่ายมีความคิดประชาธิปไตยเสรี คือพวกของ Jeffersonian ในยุคของเขา แต่สิ่งที่ Marshall ได้พิสูจน์ให้เห็นคือ “ความคงเส้นคงวา” และการทำงานอย่างไม่เอนเอียง อธิบายได้ เขาได้ร่วมตัดสินคดีมากกว่า 1,000 ราย และเขาเป็นคนเขียนคำอธิบาย 519 รายด้วยตัวของเขาเอง
รูปลักษณ์และอารมณ์หากศึกษาประวัติชีวิตของเจฟเฟอร์สันอย่างใกล้ชิด จะพบว่าเขาเป็นคนที่มีลักษณะแปลก และหลายอย่างขัดแย้งกันเอง เช่น เขาเขียนและพูดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ความเป็นอิสระ และเสรีภาพ แต่ขณะเดียวกัน เขาเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ และได้รับประโยชน์จากสมบัติจากทางฝ่ายภรรยา และทำให้เขาและภรรยาเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ และมีทาสจำนวนมากในครอบครอง ช่วงที่มีมากที่สุด มีถึง 150 คน และตลอดชีวิต เขาไม่ได้แสดงให้เห็นมากนักว่าเขาจะปลดปล่อยทาสเหล่านั้น
หลายๆครั้งที่เขาแสดงตัวถึงความเป็นตัวแทนของคนระดับล่าง ชาวนา คนชนบท ความเรียบง่าย แต่ในอีกด้านหนึ่ง เขาได้รับการอบรมมาในแบบขุนนาง ชื่นชมในศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ความศิวิลัยของยุโรป เขาชื่นชอบรสอาหาร เขาชอบดื่มไวน์ เครื่องเคลือบ ชอบการอ่าน เขามีหนังสือสะสมนับได้กว่า 15,000 เล่ม ซึ่งในสมัยนั้นหนังสือแต่ละเล่มมีราคาสูงยิ่ง เขาติดกับรสนิยมหรูแบบยุโรปราชสำนักแบบฝรั่งเศส เขาใช้จ่ายสิ้นเปลือง และนั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาไม่สามารถเลิกการครอบครองทาสได้ เพราะเขายังต้องขายทาสเพื่อปลดปล่อยหนี้สิ้นส่วนตัวของเขา
เจฟเฟอร์สัน มีคนหลายคนเรียกเขาว่า “ปราชญ์แห่ง Monticello” ตามคำบอกเล่าของหลายๆคนว่าเป็นคนผอม สูง และเมื่อยืนจะมีความสูง 6 ฟุต และยืนตัวตรงอย่างเห็นได้ชัด
ชีวิตของเจฟเฟอร์สันจะผูกพันกับบ้านของเขาที่ Monticello บางส่วนให้ฉายาเขาว่า “คนของประชาชน” เมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาจะมีบรรยากาศในการทำงานที่ทำเนียบที่เรียบง่าย ใส่เสื้อผ้าที่ถักทอแบบง่ายๆ แบบเป็นเสื้อคลุมและรองเท้าแตะ Dolley Madison ภรรยาของ James Madison ซึ่งในขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และบุตรสาวของ Jefferson ได้ช่วยให้บรรยากาศของทำเนียบที่เคยเป็นแบบทางการ ได้กลายเป็นงานรับประทานอาหารที่เป็นกันเอง มีการแสดงทางสังคม Jefferson เป็นผู้ที่รณรงค์ให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อเสรี แต่บางครั้ง เขาเองก็มีการโต้เถียงกับสื่อ และการเรียกร้องต่อประชาชนออกมาเป็นครั้งคราว
เขาเป็นคนเขียนหนังสือได้ดี สไตล์การเขียนจะเป็นแบบนิยมประโยชน์ใช้สอย (Utilitarian) และมีลักษณะความเป็นปัญญาชน เขาสนใจในการใช้ภาษา เขาเรียนภาษา Gaelic เพื่อที่จะได้แปลงานอย่าง Ossian และส่งต่อไปยัง James Macpherson
เมื่อเป็นประธานาธิบดี เขาได้หยุดประเพณีการกล่าวสุนทรพจน์ที่จะเสนอต่อรัฐสภาที่เรียกว่า the State of the Union Address แต่เปลี่ยนเป็นการส่งงานเขียนไปยังรัฐสภา การนำเสนอเช่นนี้มีไม่มากนัก ซึ่งในระยะต่อมา มีประธานาธิบดี Woodrow Wilson ซึ่งเป็นในราวๆช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วที่ได้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน Jefferson ได้กล่าวสุนทรพจน์เพียง 2 ครั้งในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาเป็นคนมีโรคพูดไม่ชัด (Lisp) และจึงชอบที่จะเขียนมากกว่าการพูดหรือกล่าวสุนทรพจน์ต่อชุมชน เมื่อภรรยาของเขาเสียชีวิต เขาได้นำจดหมายที่เขียนติดต่อกันระหว่างเขากับภรรยาทั้งหมดเผาทิ้ง ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นคนที่มีความเป็นส่วนตัวมาก เขาเป็นคนชอบทำงานในห้องทำงานที่มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าที่จะอยู่ต่อหน้าสาธารณชน
- Lisp คือการพูดหรืออกเสียงไม่ชัด
บทส่งท้ายเจฟเฟอร์สันเป็นคนที่ฉลาดปราดเปรื่อง แต่ไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบ เขามีส่วนดีๆที่ทำให้คนจดจำเขาไว้ในประวัติศาสตร์ในที่อันสูงส่ง เป็นคนทำให้เกิดการเมืองในระบบพรรคการเมือง
การก่อเกิดประชาธิปไตยในระบบมีพรรคการเมือง (Party System) เมื่อเกิดประเทศขึ้น ประธานาธิบดี Washington เห็นว่าประเทศเกิดใหม่ ยังมีความอ่อนแอและเปราะบาง ทุกฝ่ายต้องร่วมกันทำงาน เสียสละเพื่อส่วนรวมตามแบบฉบับร่วมรบในสงคราม ซึ่งต้องมีเอกภาพ
แต่เจฟเฟอร์สันเห็นว่า เสรีภาพที่จะคิดและแสดงออกเป็นเรื่องสำคัญ บุคคลมีความแตกต่าง ก็จะต้องยอมให้มีการต่อสู้กันทางความคิด และท้ายสุดคือให้ประชาชนตัดสิน ในคณะรัฐมนตรีของ Washington มีความขัดแย้งทางความคิด และแบ่งออกเป็นพวกที่เห็นด้วยกับฝ่ายอังกฤษ แต่เจฟเฟอร์สันเห็นใจและเข้าด้วยกับฝ่ายฝรั่งเศส เมื่อคิดถึงนโยบายการมีรัฐบาลกลางที่แข็งแรง อีกฝ่ายก็มองเห็นรัฐบาลกลางที่แข็งแรงเป็นเรื่องที่น่ากลัว
การปล่อยให้คนมีอิสระ (Liberty) ก็ต้องให้คนได้มีเครื่องมือที่จะคิด และทำงาน พรรคการเมือง (Party System) คือโอกาสในการให้ประชาชนมีเครื่องมือในการทำงานการเมือง เพื่อประโยชน์ของประชาชนเอง
เจฟเฟอร์ส้นร่วมกับ Madison ในการก่อตั้งพรรค Democratic-Republican ที่จะต่อสู้ทางการเมืองกับพรรค Federalists และด้วยความคิดและการนำของ Jefferson ทำให้พรรค ได้ครองอำนาจติดต่อกัน จาก วันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1801 จนถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1841 รวมเป็นเวลา 40 ปีต่อเนื่องกันCRADIT