วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลักการแบ่งแยกอำนาจ (The Seperation of Powers ) ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ


หลักการแบ่งแยกอำนาจ (The Seperation of Powers )


โครงสร้างของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกาสร้างขึ้นมาจากแนวความคิดความเชื่อในเรื่องหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Seperation of Powers ) เนื่องมาจากความกลัวของผู้ร่างรัฐธรรมนูญว่าอำนาจจะอยู่ที่คนๆ เดียว ดังนั้นจะสร้างระบบการปกครองแบบใหม่โดยแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ในความรับผิดชอบเบื้องต้น ฝ่ายนิติบัญญัติจะรับผิดชอบในการบัญญัติกฎหมายฝ่ายบริหารรับผิดชอบในการทำให้กฎหมายเหล่านั้นมีผลบังคับใช้ และฝ่ายตุลาการรับผิดชอบในการตีความกฎหมาย หลักการดังกล่าวเป็นการกำหนดให้แยกการทำงานออกเป็นฝ่ายๆ ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน เพื่อไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งมีอำนาจมากเกินไป แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลแบบนี้ ได้รับอิทธิพลมาจาก นักปรัชญาการการเมืองชาวฝรั่งเศส ชื่อ มองเตสกิเออ ( Baron De Montesquieu ) ด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าอำนาจนิติบัญญัติและ อำนาจบริหารอยู่ที่บุคคลคนเดียวหรือมีผู้ปกครองคนเดียวจะทำให้การเมืองไม่มีเสถียรภาพ


แนวความคิดของการแบ่งแยกอำนาจนี้มีหลักเกณฑ์ และจุดประสงค์ที่สาคัญ 2 ประการคือ


ประการแรก
เน้นเรื่องโครงสร้างหน่วยงาน (Structural Features) ของแต่ละฝ่ายเพื่อป้องกันการรวมอำนาจของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยการกำหนดคุณสมบัติชองผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งและกำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของสมาชิกแต่ละฝ่ายให้แตกต่างกัน


ประการที่สอง
โดยการจัดสรรอำนาจของแต่ละฝ่าย ( Allocation of Powers ) ไม่ให้ก้าวก่ายขอบเขตของอำนาจอื่นและป้องกันการรวมอำนาจทั้งสามซึ่งได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการมิให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของอำนาจใดอำนาจหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวความประสงค์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นต้องการให้อำนาจทั้งสามนี้มีบทบาทในการบริหารงานร่วมกันในบางส่วนและขณะเดียวกันอำนาจแต่ละฝ่ายก็เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน


ในทางทฤษฎีได้จำกัดขอบเขตการใช้อำนาจร่วมกันของอำนาจแต่ละฝ่าย แต่ในทางปฏิบัตินั้นมีการใช้อำนาจร่วมกันอย่างกว้างขวาง จนอาจจะกล่าวได้ว่าหลักการแบ่งอำนาจนั้น ถ้าจะพูดกันตามสภาพความเป็นจริงแล้ว เป็นการใช้อำนาจร่วมกันของสถาบันหลายๆ สถาบัน( Sharing Powers by Separated Institutions ) แต่ละฝ่ายมีอานาจสาคัญดังนี้


1) ฝ่ายนิติบัญญัติ
อำนาจนิติบัญญัติในรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของสภาคองเกรส ( Congress ) ซึ่งประกอบด้วยสภาสูง ( Senate ) และสภาผู้แทนราษฎร ( House of Representatives ) มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมายสำหรับบริหารประเทศ แต่ความเป็นจริงแล้วฝ่ายบริหารก็มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมายด้วยเช่นกัน ได้แก่กฎระเบียบต่างๆ ในการบริหาร แต่กฎหมายที่บัญญัติโดยสภานิติบัญญัติจะมีอำนาจมากกว่ากฎหมายอื่นๆ ทั้งหมด สมาชิกของสภาคองเกรสทั้ง 2 สภา จะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ซึ่งแต่ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาสูง ( Senate ) จะกระทำโดยสภานิติบัญญัติของแต่ละมลรัฐ


จนกระทั่งปี ค.ศ.1913 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 17 กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาสูงโดยตรง สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะดำรงตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี โดยเลือกตั้งครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ส่วนสมาชิกสภาสูงจะดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี โดยทำการเลือกตั้งใหม่ 1 ใน 3 ของสมาชิกทุก 2 ปี และไม่มีการจำกัดจำนวนครั้งของการเข้าดำรงตำแหน่ง คือสามารถจะดำรงตำแหน่งได้ตลอดไปตราบเท่าที่ยังคงได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน


2) ฝ่ายบริหาร
ตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 2 ปี ค.ศ.1787 กล่าวถึง อำนาจบริหารของประธานาธิบดีไว้ว่าประธานาธิบดี ( Electoral College ) ซึ่งมีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาคองเกรส คือ 538 คน เช่นเดียวกันกับการเลือกรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดีและรองธานาธิบดีมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ในระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งอยู่นี้ ประธานาธิบดีอาจถูกถอดออกจากตำแหน่งได้ ( Impeachment ) โดยที่สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ไต่สวน ส่วนการพิจารณาคดีการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ดังกล่าว จะกระทำได้ในกรณีที่ประธานาธิบดีได้กระทำความผิดทางอาญาที่รุนแรงตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ การพิพากษาตัดสินในการถอดถอนจะต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกสภาสูงจึงจะมีอำนาจลงโทษและถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งได้ การฟ้องร้องประธานาธิบดีไม่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการของความไม่พอใจในนโยบายหรือการตัดสินใจของประธานาธิบดีได้ สภาสูงไม่มีอำนาจในการพิพากษาถอดถอนประธานาธิบดีในกรณีอื่นๆได้ ยกเว้นความผิดใน 3 กรณีคือ การทรยศต่อชาติ การกระทำความผิดทางอาญา และการรับสินบน


3) ฝ่ายตุลาการ
ตามมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้อำนาจตุลาการแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นของศาลสูงศาลหนึ่งกับศาลชั้นรองลงมาที่สภาคองเกรสสถาปนาไว้เป็นคราวๆ และให้ผู้พิพากษาทั้งศาลสูงและศาลรองลงมาอยู่ในตำแหน่งตราบเท่าที่ยังมีความประพฤติดี แสดงว่าผู้พิพากษาของศาลนั้นสามารถดำรงตำแหน่งอยู่ได้ตลอดไป ซึ่งเป็นการป้องกันการใช้อิทธิพลของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ แม้ว่าฝ่ายบริหารนำโดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอแต่งตั้งผู้พิพากษาจากความยินยอมของสภาสูง แต่ผู้พิพากษาก็มีฐานะเสมือนข้าราชการ คือ อาจจะถูกฟ้องร้องจากการกระทำความผิดได้ วิธีการฟ้องร้องเพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่ง ( Impeachment ) นี้ เป็นเพียงวิธีเดียวที่จะบังคับให้ผู้พิพากษาออกจากตำแหน่งได้ จากหลักประกันในการที่ผู้พิพากษาศาลสูงมีสิทธิที่จะดำรงตำแหน่งได้ตลอดชีวิตนี้เอง มีผลทำให้ผู้พิพากษาศาลสูงสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ


ลักษณะของสถาบันทั้ง 3 แสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระต่อกัน โดยพิจารณาจากวิธีการเข้าดำรงตำแหน่งและวาระในการดำรงตาแหน่ง นอกจากนี้ข้อบังคับของรัฐธรรมนูญยังห้ามมิให้ข้าราชการสหรัฐอเมริกาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาสูง และในขณะเดียวกันก็ห้ามมิให้สมาชิกของทั้ง 2 สภาดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริการ เพื่อเป็นการแยกองค์กรอำนาจทั้ง 3 ให้เป็นอิสระต่อกันอย่างแท้จริง