The American Civil War 1861 - 1865 |
สาเหตุของการเกิดสงครามกลางเมือง
ปัญหาเรื่องทาสเป็นสาเหตุให้เกิดสงครามกลางเมือง จากคำปราศรัยของ อับราฮัม ลินคอร์น ได้กล่าวถึงสาเหตุของสงครามกลางเมือง คือ ความพยายามที่จะป้องกันมิให้ประเทศต้องเกิดการแตกแยกสงครามกลางเมืองเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด และทำความเสียหายมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตพลเมือง และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก สงครามกลางเมืองครั้งนี้มีสาเหตุของสงครามกลางเมือง 2 ประการ ดังต่อไปนี้
ประการแรก เกิดความขัดแย้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของฝ่ายมลรัฐทางภาคเหนือ และฝ่ายมลรัฐทางภาคใต้ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน คือเศรษฐกิจของฝ่ายทางภาคใต้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเป็นหลักที่สำคัญได้แก่ ยาสูบ ฝ้าย ข้าวและน้ำตาล ผลผลิตเหล่านี้ต้องส่งไปขายยังต่างประเทศ ส่วนเศรษฐกิจของฝ่ายมลรัฐทางภาคเหนือมีการทำเกษตรกรรมบ้าง และมีอุตสาหกรรมทั้งหนักและเบา ซึ่งแรงงานที่ใช้เป็นพวกกรรมกร ผลผลิตทางอุตสาหกรรมของมลรัฐภาคเหนือ จึงต้องการตลาดภายในประเทศ ทำให้มลรัฐภาคใต้เสียผลประโยชน์ การซื้อขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางภาคใต้ต้องเผชิญกำแพงภาษีของต่างประเทศทำให้ได้รับผลกระทบ 2 ด้าน
ประการที่สอง มลรัฐภาคใต้ใช้แรงงานจากทาสเป็นสำคัญซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นหน้าเป็นตาทางสังคม มลรัฐทางภาคเหนือโจมตีการใช้แรงงานทาสว่าเป็นเรื่องผิดศีลธรรม
เมื่อ อับราฮัม ลินคอร์น จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งต่อต้านการใช้แรงงานทาสอย่างรุนแรงได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ.1861 ได้ประกาศไม่รับรองการแยกตัวของมลรัฐทางภาคใต้โดยให้เหตุผลว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และให้สัญญาว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับปัญหาเรื่องทาสในมลรัฐที่มีทาสอยู่แล้ว แต่มลรัฐทางภาคใต้มิได้ยอมรับฟังเหตุผลและได้เข้าโจมตีค่ายทหารของรัฐบาลกลางที่ประจำการอยู่ในมลรัฐทางภาคใต้ซึ่งนับว่าเป็นการจุดชนวนที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ.1861 ดังนั้น ประธานาธิบดีลินคอร์นจึงประกาศใช้กำลังเข้าปราบปรามมลรัฐทางภาคใต้ที่แยกตัวออก
Confederate States of America: สมาพันธรัฐอเมริกา
เป็นชื่อทางการของรัฐที่แยกตัวออกระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกัน ระหว่าง ค.ศ.1860-1861ประกอบด้วยรัฐเวอร์จิเนีย นอร์ท คาโรไลนา เซาท์ คาโรไลนา จอร์เจีย ฟลอริดา เทนเนสซี อะลาบามา มิสซิสซิปปี หลุยส์เซียนา เท็กซัส อาร์คันซอ มีประธานาธิบดีคือนายเจฟเฟอร์สัน เดวิส (Jefferson Davis) แห่งรัฐมิสซิสซิปปี ส่วนรัฐทาสอื่นๆคือเดลาแวร์ มารีแลนด์ เคนทักกีกับบางส่วนของรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งปัจจุบันคือเวสต์ เวอร์จิเนียไม่ได้แยกออกมาเป็นสมาพันธรัฐด้วย
เป็นชื่อทางการของรัฐที่แยกตัวออกระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกัน ระหว่าง ค.ศ.1860-1861ประกอบด้วยรัฐเวอร์จิเนีย นอร์ท คาโรไลนา เซาท์ คาโรไลนา จอร์เจีย ฟลอริดา เทนเนสซี อะลาบามา มิสซิสซิปปี หลุยส์เซียนา เท็กซัส อาร์คันซอ มีประธานาธิบดีคือนายเจฟเฟอร์สัน เดวิส (Jefferson Davis) แห่งรัฐมิสซิสซิปปี ส่วนรัฐทาสอื่นๆคือเดลาแวร์ มารีแลนด์ เคนทักกีกับบางส่วนของรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งปัจจุบันคือเวสต์ เวอร์จิเนียไม่ได้แยกออกมาเป็นสมาพันธรัฐด้วย
รัฐที่แยกตัวออกได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1861 และต่อมาก็ตั้งเป็นรัฐบาลถาวรในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1862 มีรองประธานาธิบดี คือ นาย เอ. สตีเฟน (A. Stephen) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเดือนมีนาคม ค.ศ.1861 ตั้งเมืองริชมอนด์ (Richmond) เป็นเมืองหลวงในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน พยายามเรียกร้องให้ต่างประเทศรับรอง โดยระงับการส่งฝ้ายออกไปจำหน่าย แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ทั้งภายในประเทศก็มีกำลังพลกับกำลังรบ น้อยกว่าฝ่ายเหนือที่เป็นรัฐอุตสาหกรรม ในที่สุดต้องยอมแพ้ที่ศาลแอพโพแมททอกส์ (Appomattox Courthouse) เดือนเมษายน ค.ศ.1865
เจฟเฟอร์สัน เดวิด (Jefferson David) ประธานาธิบดีแห่งสมาพันธรัฐฝ่ายใต้ |
แผนที่แสดงระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ |
เมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของทั้งสองฝ่ายแล้วในด้านพื้นที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีพื้นที่หรือดินแดนที่ใกล้เคียงกัน แต่หากเปรียบเทียบด้านกำลังคน และทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนเทคโนโลยีแล้ว มลรัฐทางภาคเหนือได้เปรียบกว่ามลรัฐทางภาคใต้เป็นอย่างมาก แต่มลรัฐทางภาคใต้มีผู้นำทางทหารที่มีความสามารถคือ นายพล โรเบิร์ต อี.ลี (Robert E. Lee) นอกจากนี้ทหารทางมลรัฐภาคใต้มีขวัญกำลังใจและมีความเด็ดเดี่ยวมากกว่าทหารของมลรัฐทางภาคเหนือ
โรเบิร์ต อี.ลี (Robert E. Lee) ผู้บัญชาการทหารฝ่ายใต้ |
ส่วนมลรัฐทางฝ่ายเหนือนั้น อับราฮัม ลินคอล์น ใช้เวลาอยู่หลายปีกว่าจะได้นายพลผู้เก่งกาจมาบัญญาชาการ ชื่อว่า นายพล ยูลิซิส เอส. แกร๊นท์ (Ulysses S. Grant) เป็นผู้บังคับบัญชาการทหารที่มีความสามารถเหนือกว่านายพลโรเบิร์ต อี.ลี. จึงสามารถพลิกสถานการณ์ความเสียเปรียบทางการทหารมาเป็นความได้เปรียบและทำให้มลรัฐทางภาคเหนือได้รับชัยชนะในการทำสงครามกลางเมืองในที่สุด
นายพล ยูลิซิส เอส. แกร๊นท์ (Ulysses S. Grant) ผู้บัญชาการทหารฝ่ายเหนือ |
เหตุการณ์สำคัญตามลำดับคือ
ค.ศ. 1860 อับราฮัม ลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
ค.ศ. 1860 อับราฮัม ลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
อับราฮัม ลินคอล์น |
ค.ศ. 1860 เซาท์ แคโรไลนาแยกตัวออกเพราะไม่พอใจผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
ค.ศ. 1860 การทำข้อตกลงคิสเตนเดน (Crittenden Compromise) ล้มเหลวเท่ากับเป็นการสิ้นสุด ความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะยังคงรวมกันเป็นสหภาพ (Union)
ข้อตกลงคิสเตนเดน (Crittenden Compromise) |
ค.ศ. 1861 ฝ่ายสมาพันธรัฐ (Confederates) ยิงเรือของฝ่ายสหภาพ พยายามปลดปล่อยฟอร์ท ซัมเตอร์ (Fort Sumter) ที่เมืองชาร์ลสตัน (เซาท์ แคโรไลนา) ทำให้เรือของฝ่ายสหรัฐต้องถอย
ค.ศ. 1861 มิสซิสซิปปี แยกตัว (9 มกราคม) ตามมาด้วยฟลอริดา (10มกราคม) อลาบามา (11 มกราคม) จอร์เจีย (19มกราคม) หลุยส์เซียนา (26มกราคม) และเท็กซัส (1กุมภาพันธ์)
ค.ศ. 1861 สภาคองเกรสเรียกประชุมผู้แทน (4 ก.พ.) บรรดารัฐที่แยกตัวออกที่เมืองมองโกเมอรี รัฐอลาบามาจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา และเลือกตั้งนายพล เจฟเฟอร์สัน เดวิด (Jefferson David) เป็นประธานาธิบดี
ค.ศ. 1861 ประธานาธิบดีเดวิส ประกาศเกณฑ์ทหารอาสาสมัคร 20,000 คนเข้าประจำการ (3 เมษายน)
ค.ศ. 1861 กองทัพฝ่ายสมาพันธ์นำโดยนายพลโบรีการ์ด (Beauregard) ระดมยิงฟอร์ท ซัมเตอร์ จนต้องยอมแพ้ เป็นการเปิดฉากสงครามกลางเมือง ที่มีความรุนแรงยิ่งขี้น (12 - 14 เมษายน)
นายพลโบรีการ์ด (Beauregard) |
การระดมยิงที่ ฟอร์ท ซัมเตอร์ (Fort Sumter) |
ค.ศ. 1861 ประธานาธิบดีลินคอล์น ประกาศเกณฑ์ทหารอาสาสมัคร 75,000 คน (15 เมษายน) ดำเนินการปิดล้อมท่าเรือของฝ่ายรัฐที่แยกตัวออก (19 เมษา) แต่ไม่สามารถสกัดการส่งสินค้า จากต่างประเทศที่เข้ามาถึงรัฐที่ถูกปิดล้อมได้ทั้งหมด
ค.ศ. 1861 เวอร์จิเนียถอนตัวออกจากสหพันธรัฐ (17 เมษา) ตามด้วยอาร์คันซอส์ (6 พฤษภา) นอร์ท แคโรไลนา (20 พฤษภา) และเทนเนสซี (8 มิถุนา)
ค.ศ. 1861 กองทัพฝ่ายสมาพันธรัฐเผชิญหน้าฝ่ายสหพันธรัฐ เริ่มการสู้รบที่ บุล รัน (bull Run) (21 กรกฎา) ทางตอนเหนือของรัฐเวอร์จิเนีย การสู้รบที่บุลรันทำให้ฝ่ายเหนือคิดเรื่องที่จะยุติสงครามกลางเมืองโดยเร็ว ด้วยการปิดล้อมฝ่ายใต้ทางเรือ คุมย่านแม่น้ำมิสซิสซิปปี (เพื่อเป็นการแยกฝ่ายใต้ออกจากกัน) และเข้ายึดเมืองริชมอนด์ เมืองหลวงของสมาพันธรัฐฝ่ายใต้ ค.ศ. 1861 ฝ่ายสมาพันธรัฐก็ยึดเมืองสปริงฟิลด์ (Springfield) ในมิสซูรีภายหลังการรบที่วิลสัน ครีก (Wilson's Creek) (10สิงหาคม)
การสู้รบที่ บุล รัน (bull Run) |
ค.ศ. 1861 พลเอก จี. แมคเคลลัน (General G.McCelan) เป็นผู้บัญชาการกองทัพสหพันธรัฐ และจัดตั้งกองทัพแห่งโปโตแมค (Army of Potomac) ขึ้น
พลเอก จี. แมคเคลลัน (General G.McCelan) ผู้บัญชาการกองทัพสหพันธรัฐ ( ฝ่ายเหนือ ) |
กองทัพแห่งโปโตแมค (Army of Potomac) |
ค.ศ. 1861 กองทัพสหพันธรัฐปิดล้อมเรืออังกฤษ (8 พฤศจิกายน) จนเกือบนำไปสู่การเกิดสงรามระหว่างประเทศ
ค.ศ.1862 ฝ่ายสหพันธรัฐบุกเคนตักกี้กับเทนเนสซี ยึดได้ฟอร์ท เฮนรี (Fort Henry) กับฟอร์ท โดเนลสัน (Fort Donelson) (6 - 16 กุมภาพันธ์) ฝ่ายสมาพันธ์ถอนตัวจากเมืองแนชวิลล์ (Nashville)
ค.ศ. 1862 เป็นปีรุกของฝ่ายสหพันธรัฐ นายพลแกรนท์ของฝ่ายเหนือรุกไล่ฝ่ายใต้ทางตอนใต้รัฐเทนเนสซี มีชัยในการรบนองเลือดที่ชิโลห์ (Shiloh) (6-7เมษา) ฝ่ายใต้สูญเสียแม่ทัพสำคัญ คนหนึ่งคือนายพล เอ จอห์นสตัน (Gen. A. Johnston)
การรบนองเลือดที่ชิโลห์ (Shiloh) 1862 |
นายพล เอ จอห์นสตัน (Gen. A. Johnston) |
ค.ศ. 1863 ลินคอล์นประกาศกฎหมายปลดปล่อยวันที่ 1 มกราคม (Emancipation Proclaimation) (1 มกราคม)
กฎหมายปลดปล่อย (Emancipation Proclaimation) |
ค.ศ. 1863 กองทัพฝ่ายเหนือรุกไปทางตะวันออก นายพลลี (Gen. R.E. Lee) ของฝ่ายใต้รุกขึ้นทาง เหนือเข้าสู่เพนซิลวาเนีย (มิถุนายน) แต่ถูกนายพลจี มีด (Gen.G.Meade) ของฝ่ายสหพันธรัฐ เอาชนะได้ในการรบที่เกตติสเบิร์ก (Battle of Gettysburg) ในเพนซิลวาเนีย ถือเป็นสงครามแห่งชัยชนะในสงครามกลางเมือง เมื่อนายพลลีต้องถอยกลับไปเวอร์จิเนีย
นายพลจี มีด (Gen.G.Meade) |
การรบที่เกตติสเบิร์ก (Battle of Gettysburg) |
ค.ศ. 1864 นายพลแกรนท์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสหภาพ (มีนาคม) ขณะที่นายพล ดับเบิลยู เชอร์แมน (Gen. W. Sherman) เป็นแม่ทัพฝ่ายตะวันตก กองทัพ ของนายพลแกรนท์ ปะทะกับกองทัพนายพลลีในเวอร์จีเนีย ส่วนกองทัพของนายพลเชอร์แมน มีหน้าที่รุกรบกองทัพของนายพลจอห์นสตันที่แอตแลนตา
นายพล ดับเบิลยู เชอร์แมน (Gen. W. Sherman) |
ค.ศ. 1864 นายพลลีของฝ่ายใต้เริ่มถอย เพราะไม่สามารถป้องกันปีเตอร์สเบิร์ก (Petersburg) ในการสู้รบเป็นเวลาถึง 10 เดือน แม้จะพยายามโจมตีแนวหลังของฝ่ายสหพันธรัฐก็ไม่สำเร็จ
การสู้รบที่ยาวนานที่ปีเตอร์สเบิร์ก (Petersburg) |
ค.ศ. 1864 นายพลดี ฟาร์รากัตเอาชนะกองเรือฝ่ายสมาพันธรัฐที่อ่าวโมบายล์ (5 สิงหาคม)
ค.ศ. 1864 ประธานาธิบดีลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง (พฤศจิกายน)
ค.ศ. 1865 มีการร่างข้อตกลง 13 ข้อ ยกเลิกการมีทาสในสหรัฐอเมริกา ผ่านรัฐสภาอเมริกัน (1 กุมภาพันธ์) และมีผลบังคับใช้เดือนธันวาคม
ค.ศ. 1865 นายพลลี ถูกบังคับให้ยอมจำนนที่แอพโพแมตทอก คอร์ทเฮาส์ (Appomattox Courthouse) เป็นการยุติสงครามกลางเมือง
การยอมจำนนที่แอพโพแมตทอก คอร์ทเฮาส์ (Appomattox Courthouse) |
ค.ศ. 1865 (14 เมษายน) ประธานาธิบดีลินคอล์นถูกลอบสังหาร (เขาถูกสังหารโดยชาวผิวขาวที่เคยสนับสนุนการเลิกทาส แต่เมื่ออับราฮัมต้องการให้คนผิวดำมีสิทธิการเลือกตั้งเท่าเทียมกับคนขาว เรื่องนี้ทำให้คนขาวหลายคนไม่พอใจ รวมทั้งมือสังหารคนนี้ด้วย)
ประมวลภาพเก่าระหว่างสงครามกลางเมือง
Bodies of dead Louisiana Regiment Antietam, Maryland Library of Congress |
Confederate Dead a Ditch on the Right Wing used as a Rifle Pit Antietam, MD, September 1862 CivilWarPhotoGallery.Com |
Bodies of Confederate Dead Gathered for Burial Antietam, MD, September 1862 CivilWarPhotoGallery.Com |
Confederate Dead by a Fence Hagerstown Road Antietam, MD, September 1862 CivilWarPhotoGallery.Com |
Confederate Dead Behind the Stone Wall of Marye's Heights Killed During the Battle of Chancellorsville Fredericksburg, VA, May 1863 CivilWarPhotoGallery.Com |
Body of a Confederate soldier near Mrs. Alsop's house Made in 1864 by O'Sullivan, Timothy H. old-picture.com |
Dead Federal Soldier during the American civil war Petersburg, Virginia, April 1865 Source Library of congress Author Thomas C Roche at Wikipedia |
A Confederate Napoleon Gun Defense of Atlanta - 1864 CivilWarPhotoGallery.Com |
A Confederate Napoleon Gun Defense of Atlanta - 1864 CivilWarPhotoGallery.Com |
Captured Siege Guns at Rocketts Richmond, VA, 1865 CivilWarPhotoGallery.Com |
Commissioned and Noncommissioned Officers Companies C and D, 1st Massachusetts Cavalry Petersburg VA, August 1864 CivilWarPhotoGallery.Com |
Scouts and Guides of the Army of the Potomac Brandy Station, VA, March 1864 CivilWarPhotoGallery.Com |
Charleston, S.C. Breach patched with gabions North wall of Fort Sumter old-picture.com |
ผลลัพธ์ของสงครามกลางเมือง
จากการสู้รบของมลรัฐทางภาคเหนือและมลรัฐทางภาคใต้ทำให้เกิดความเสียหายทั้งในด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สินต่างๆ อย่างมากมายในที่สุดฝ่ายมลรัฐทางภาคเหนือเป็นฝ่ายชนะอย่างเด็ดขาดต่อมลรัฐทางภาคใต้และสิ่งที่ตามมาของสงครามกลางเมืองคือ
1) ผลต่อรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะในสงครามกลางเมืองจึงทำให้อำนาจของรัฐบาลกลางมีมากขึ้น และการแยกตัวออกจากสหรัฐอเมริกาของมลรัฐทางภาคใต้ได้ถูกยกเลิกไป และทำให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมอีก 3 ข้อ คือ
ข้อ 13 ให้เลิกทาสทั่วสหรัฐอเมริกา
ข้อ 14 อนุญาติให้ชาวอเมริกันทุกคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหากมีคุณสมบัติเพียงพอ
ข้อ 15 อนุญาติให้ชาวอัฟริกันผิวดำที่เคยเป็นทาสมาก่อน มีสิทธิที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้
2) ผลทางการเมือง
ทำให้อำนาจทางการเมืองเปลี่ยนจากบรรดาเจ้าของไร่ขนาดใหญ่ทางมลรัฐทางภาคใต้มาเป็นบรรดากลุ่มอุตสาหกรรมและธุรกิจทางมลรัฐทางภาคเหนือแทน พรรครีพับลิกันกลายเป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทอย่างมากในทางการเมืองของสหรัฐอเมริกานับแต่นั้นเป็นต้นมา และผลของสงครามทำให้มลรัฐทางภาคใต้เกิดการรวมตัวทางการเมืองอย่างเหนียวแน่นโดยให้การสนับสนุนพรรคเดโมแครทเพียงพรรคเดียวเท่านั้น
3) ความเจริญรุ่งเรือง
มลรัฐทางภาคเหนือมีความเจริญรุ่งเรืองมากแต่ในขณะเดียวกันมลรัฐทางภาคใต้กลับล้าหลังลงเนื่องจากทรัพย์สินและบ้านเรือนถูกทำลาย อย่างหนักเนื่องมาจากสงครามกลางเมืองขอบคุณข้อมูลส่วนนึงจาก เว็บพันธ์ทิพย์ กระทู้นี้
รูปภาพประกอบจาก : CivilWarPhotoGallery.Com