วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา






            แนวความคิดและประเด็นสำคัญที่สงผลต่อการพัฒนาทางการเมืองของชาวอเมริกันในยุคอาณานิคม ซึ่งเป็นผลมาจากข้อพิพาทระหว่างอาณานิคมและสหราชอาณาจักร จนนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ และการแยกตัวออกจากการปกครองของสหราชอาณาจักร สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
             ประเด็นที่นาไปสู่การปฏิวัติ คือ การขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ระหว่างอาณานิคม และสหราชอาณาจักร ชาวสหราชอาณาจักรเจริญเติบโตขึ้นจนสามารถพึ่งตนเอง และปกครองตัวเองได้ นอกจากนี้ ชาวอาณานิคมยังมีส่วนร่วมในการส่งกองกำลังไปร่วมรบในสงครามระหว่างสหราชอาณาจักร กับ ฝรั่งเศส จนฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้แก่สหราชอาณาจักร และถูกขับไล่ออกจากทวีปอเมริกา ทำให้ชาวอาณานิคมรู้สึกมั่นคง และสามารถพัฒนาตนเองจนมีความสามารถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ รวมทั้งมีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการดำเนินการอันใดที่จะนำไปสู่การต่อสู้เพื่อประกาศเอกราช จนกระทั่งสหราชอาณาจักรเข้าควบคุม การปกครองอาณานิคมจนเกินขอบเขต 

หลังจากสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศสสิ้นสุดลง รัฐบาลสหราชอาณาจักรตัดสินใจที่จะนำกฎหมายที่เข้มงวดมาใช้กับชาวอาณานิคมโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าของอาณานิคม เช่น ในปี ค.ศ. 1764 สหราชอาณาจักร ออกกฎหมาย ซึ่งเรียกกันว่า พระราชบัญญัติน้ำตาล (The Sugar Act

พระราชบัญญัติน้ำตาล (The Sugar Act)

นอกจากนี้ ยังเก็บภาษี สินค้าอื่นๆ เช่น ไหมและเหล้าองุ่น เป็นต้น ต่อจากนั้น รัฐบาล ก็ออกกฎหมาย อีกฉบับหนึ่ง เรียกว่า พระราชบัญญัติ อากรแสตมป์ (The Stamp Act) บังคับให้ปิดอากรแสตมป์ ในเอกสารต่างๆ เช่น เอกสารเกี่ยวกับการค้า การเช่า หนังสือพิมพ์ เป็นต้น 

พระราชบัญญัติ อากรแสตมป์ (The Stamp Act)
การที่รัฐบาลอังกฤษ ออกกฎหมาย เก็บภาษีพิเศษเฉพาะ อย่างมากมายเช่นนี้ ชาวอาณานิคม ทำการคัดค้าน อย่างรุนแรง นักกฎหมาย และสมาชิกสภาอาณานิคม มีความเห็นว่า อำนาจเก็บภาษีเฉพาะอย่างนี้ เป็นอำนาจของอาณานิคม รัฐบาลอังกฤษไม่มีอำนาจที่จะเก็บภาษี เพราะในสภาของอาณานิคมนั้น มีผู้แทนของประชาชนอาณานิคมอยู่ พวกอาณานิคมอ้างหลักการปกครองที่สำคัญว่า "จะเก็บภาษี โดยไม่มีผู้แทน ไม่ได้" (No Taxation without Representation) และการจัดตั้งกองทหารขึ้นเพื่อประโยชน์ทางด้านการป้องกัน และที่สำคัญก็คือการที่สหราชอาณาจักรบัญญัติกฎหมายการจัดการภาษีจากชาวอาณานิคมเพื่อนำไปใช้จ่ายในกิจกรรมของสหราชอาณาจักร


         เหตุการณ์รุนแรง เกิดขึ้น ในปี ค.ศ.1775 เมื่อกองทหารอังกฤษซึ่งตั้งอยู่ในเมือง บอสตัน ต้องการจะเคลื่อนกำลังไปขนอาวุธที่คลังแสง ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่บ้าน คอนคอร์ด มาเก็บไว้ที่ค่ายทหาร เพราะเกรงว่าชาวอาณานิคมจะก่อการจลาจล ทำสงคราม กู้เอกราช และก็เป็นไปตามความคาดหมาย ชาวอาณานิคม ได้จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับกองทหารอังกฤษแผ่กระจายไปทุกอาณานิคม ผู้แทนอาณานิคมทั้ง 13 อาณานิคม ได้เปิดประชุมกันที่เมือง พิลาเดลเฟีย ทันทีและลงมติ แต่งตั้งให้ จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เป็นแม่ทัพใหญ่ นำทหารต่อสู้กับทหารอังกฤษ 

จอร์จ วอชิงตัน (George Washington)
         ในระหว่างสงครามปีต่อมาผู้แทน 13 อาณานิคม ได้เปิดประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง ที่เมือง ฟิลาเดลเฟีย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1776 ที่ประชุมมีมติเห็นพ้องต้องกันว่า การทำสงครามคราวนี้ ไม่ควรทำสงครามเพื่อเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคเท่านั้น แต่ควรทำสงครามเพื่อประกาศอิสรภาพเสียเลย ดังนั้น จึงมีการร่างคำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independence) โดยผู้แทนอาณานิคมที่มาประชุมทั้ง 13 อาณานิคม ได้ลงนามในคำประกาศในวันนั้น การมีสภาพเป็นอาณานิคมของอังกฤษก็สิ้นสุดลง ทางพฤตินัย อเมริกา ยังไม่ได้รับเอกราช โดยสมบูรณ์จนกระทั่งได้มีชัยชนะเหนืออังกฤษ ในสงครามต่อสู้เพื่อเอกราช (War of Independence) เมื่อปี ค.ศ.1781 

สงครามต่อสู้เพื่อเอกราช (War of Independence)