วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สถานการณ์ในช่วงต้นของการก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกา

การจัดการระบบบริหารของสหรัฐอเมริการะหว่างปี ค.ศ. 1781 - 1789
ภายหลังการประกาศอิสรภาพจากสหราชอาณาจักร ชาวอาณานิคมได้ร่วมมือกันจัดระบบการปกครองประเทศขึ้นใหม่โดยการร่างรัฐธรรมนูญ และการให้สัตยาบัน ซึ่งจะกล่าวถึงสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

ภายใต้ระบบสภาคองเกรสของอาณานิคม (The Continental Congress)
ภายหลังจากการประกาศอิสรภาพของชาวอาณานิคม ยังไม่มีหน่วยงานรัฐบาลกลางที่รับผิดชอบการบริหาร สภาคองเกรสของอาณานิคม ( The Continental Congress) จึงต้องมารับผิดชอบในการบริหารงานของอาณานิคม ซึ่งสภาคองเกรสของอาณานิคมต้องประสบกับปัญหาในการดำเนินการหลายประการภายใต้บทบัญญัติของสมาพันธ์ (The Articles of confederation) สภาคองเกรสของอาณานิคมรับหน้าที่บริหารอาณานิคมจนถึงวันที่ 1 มีนาคม 1781 จึงได้กำหนดบทบัญญัติของสมาพันธ์ขึ้นโดยบทบัญญัติของสมาพันธ์มีลักษณะที่สำคัญดังนี้

บทบัญญัติของสมาพันธ์ (The Articles of confederation)
1. กำหนดให้รัฐสภามีเพียงสภาเดียว รัฐสภานี้จะทำหน้าที่ทั้งทางด้าน นิติบัญญัติ และด้านการบริหาร โดยมีหน้าที่หลายประการดังนี้ คือ
 
ประการแรก การประกาศสงคราม การทำสนธิสัญญาสันติภาพ และการทำสัญญาพันธมิตรกับต่างประเทศ
 
ประการที่สอง อำนาจในการกำหนดวงเงินงบประมาณประจำปี

ประการที่สาม การจัดสร้าง และการทำนุบำรุงกองทัพบกและกองทัพเรือ (แต่ไม่มีอำนาจที่จะจัดตั้งกองทหารแห่งชาติในยามปกติ )
 
ประการสุดท้าย การตัดสินข้อพิพาทระหว่าง รัฐบาลตามวิธีที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติ และการปกครองชาวอินเดียแดง

2. แต่ละมลรัฐจะมีผู้แทนในรัฐสภาของสมาพันธ์ได้ไม่เกิน 7 คน และไม่ต่ำกว่ามลรัฐละ 2 คน แต่การออกเสียงในรัฐสภาทุกมลรัฐมีคะแนนเสียงมลรัฐละ 1 เสียงเท่านั้น

3. การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติจะกระทำได้ต่อเมื่อทุกมลรัฐเห็นชอบด้วยเท่านั้น และข้อแก้ไขหรือเพิ่มเติมจะมีผลบังคับใช้ได้ต่อเมื่อมีเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 9 มลรัฐ ที่รับรองเห็นชอบข้อแก้ไข หรือเพิ่มเติมบทบัญญัตินั้นๆ

4. บทบัญญัติของสมาพันธ์ได้ระบุว่าไว้ในตอนต้นว่าการรวมเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการรวมแบบสันนิบาตของมลรัฐต่างๆซึ่งหมายความว่าแต่ละมลรัฐยังคงมีอำนาจอธิปไตยอยู่มาก ส่วนรัฐสภาที่ทำหน้าเป็นรัฐบาลกลางนั้นยังคงมีอำนาจในการปกครองแต่อยู่ในวงจำกัด

การประชุมร่างรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ.1787 (The Federal Confederation) ดำเนินการได้ผลน้อยมากในที่สุดมลรัฐต่างตกลงกันที่จะแก้ไขใหม่ โดยในปี ค.ศ. 1787 มลรัฐต่างๆได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมที่เมืองฟิลาเดลเฟียเมืองหลวงของมลรัฐเพนซิลวาเนีย การประชุมครั้งนี้จึงเรียกว่า Philadelphia Convention ในการประชุมครั้งนี้ จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกเป็นประธานของการประชุม นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญอื่นเข้าร่วมประชุมด้วย เช่น เบนจามิน แฟรงคลิน และ เจมส์ เมดิสัน ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากในการประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ

การประชุม Philadelphia Convention
การประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ (The Constitutional Convention ) 
กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1787 ผลการประชุมที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกาต้องการรัฐบาลที่เข้มแข็งเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบของรัฐบาลควรเป็นแบบสาธารณรัฐ (Republic) ผู้นำของประเทศต้องได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน และอำนาจการบริหารประเทศต้องแยกจากกันอย่างเด็ดขาดโดยแบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ

การประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ (The Constitutional Convention ) วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1787
นอกจากนี้ ยังกำหนดด้วยว่าประชาชนต้องได้รับรองสิทธิ์ต่างๆ ตลอดจนการคุ้มครองที่ดีจากรัฐบาล รัฐบาลกลางมีสิทธิและอำนาจเด็ดขาดในการจัดการเรื่องการจัดเก็บภาษี กิจการกองทัพ ระบบเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าต้องการให้รัฐบาลกลางมีอำนาจมากกว่ารัฐบาลมลรัฐ

หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ ( The Principles of Constitution ) 
วัตถุประสงค์สำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา มี 2 ประการคือ

ประการแรก การยึดถือเสียงข้างมากของประชาชนในการปกครองประเทศ แต่ในเวลาเดียวกันก็ให้การปกป้องสิทธิเสรีภาพของชนกลุ่มน้อยอย่างทัดเทียมกัน

ประการที่สอง การตัดสินลงโทษเป็นหน้าที่ศาล เสียงข้างมากจะตัดสิทธิการแสดงความคิดเห็นของบุคคลมิได้ หากการแสดงความคิดเห็นนั้นมิได้ละเมิดกฎหมาย ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวนี้ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาอย่างชัดเจน

การให้สัตยาบัน (Ratification)
รัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ.1787 ได้ถูกส่งไปยังมลรัฐต่างๆทั้ง 13 มลรัฐเพื่อให้สัตยาบัน ปรากฏว่าในตอนแรกเกิดความเห็นขัดแย้งมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นที่ว่ารัฐบาลกลางมีอำนาจมากกว่ารัฐบาลมลรัฐ ทำให้เกิดการแบ่งแยก