วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นักปราชญ์การเมืองแนวประชาธิปไตย ผู้วางรากฐานระบอบประชาธิปไตยคนสำคัญๆของโลก

บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ (Baron de Montesquieu ค.ศ. 1689-1755) หรือ ชาร์ลส์ หลุยส์ เดอ เซ็กกองดาต์ (Charies Louis de Secondat) ขุนนางฝรั่งเศส

เป็นผู้เขียนหนังสือ เรื่อง วิญญาณแห่งกฎหมาย (The Spirit of Laws) ซึ่งใช้เวลาศึกษาค้นคว้ากว่า 20 ปี หนังสือเล่มนี้พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1748 และต่อมาได้รับการตีพิมพ์อีก 22 ครั้ง และแปลเป็นภาษาตะวันตกต่างๆ เกือบทุกภาษา

นักคิดนักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ผู้ให้กำเนิดแนวคิดในการแบ่งแยกอำนาจปกครองสูง สุดหรืออำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ที่ว่าเป็นต้นแบบประชาธิปไตยนั่นเอง เพราะเขาไม่ต้องการให้อำนาจอยู่ในมือบุคคลเพียงคนเดียว เพราะบุคคลใดก็ตามซึ่งมีอำนาจอยู่ในมือ มักจะใช้อำนาจเกินเลยอยู่เสมอ มองเตสกิเออร์เห็นว่าขุนนางควรมีอำนาจออกและยับยั้งกฎหมายร่วมกับสภาจากประชาชน รวมถึงการกำหนดงบประมาณแต่ไม่ควรเข้ามาทำงานด้านอำนาจบริหาร ส่วนกษัตริย์ไม่มีอำนาจออกกฎหมายมีแต่อำนาจยับยั้ง แต่สภาก็ยังตรวจสอบได้ว่าการใช้อำนาจบริหารเป็นอย่างไรกล่าวหาและเอาผิดที่ปรึกษาของกษัตริย์และเสนาบดีในฐานะฝ่ายบริหารแทนกษัตริย์ได้

แนวคิดในทางการเมืองของมองเตสกิเออร์ ในหนังสือเล่มนี้ มีอิทธิพลต่อสังคมตะวันตก รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ใช้แนวคิดเรื่อง การแบ่งแยกอำนาจ และระบบคานอำนาจของมองเตสกิเออร์เป็นหลัก 

ในส่วนของเสรีภาพนั้น มองเตสกิเออร์ เห็นว่าเสรีภาพคือการที่จะทำในสิ่งที่ต้องการและไม่บังคับให้กระทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ จะต้องมีกฎหมายมาเป็นตัวกลางคอยกำหนดว่า ประชาชนควรทำหรือไม่ควรทำอะไร เพื่อมิให้เสรีภาพของคนหนึ่งไปรบกวนเสรีภาพของคนอื่นและระบบกฎหมายนี้จะไม่เกิดกับระบอบทรราชที่ใช้กำลังอำนาจทำให้ประชาชนหวาดกลัว

วอลแตร์ (Voltaire) หรือ ฟรองซัวส์ มารี อรูเอต์ (François-Marie-Arouet,1694-1778) 

นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิด
ทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน ปลุกความคิดการวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม ความเชื่อที่งมงายในทางศาสนา นอกจากนี้เขายังสนับสนุนการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และการแสดงความคิดเห็นของประชาชน

ผลงานของวอลแตร์ได้ก่อให้เกิดสิ่
งที่เรียกว่า “ความคิดวิพากษ์วิจารณ์” (L‘esprit critique)แก่ชาวฝรั่งเศส คิดวิพากษ์วิจารณ์ต่อทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม โดยวอลแตร์ได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย วอลแตร์ได้สอดแทรกการโจมตีการเอารัดเอาเปรียบประชาชนในระบอบศักดินาเอาไว้ไม่น้อย เราลองมาฟังตัวอย่างคารมของเขาดังต่อไปนี้
 
"สามัญชนอันเป็นคนจำนวนมากที่สุด มีคุณธรรมที่สุด และควรแก่การเคารพยกย่องที่สุด อันประกอบไปด้วยผู้ศึกษากฎหมาย และวิทยาศาสตร์ พ่อค้า ช่างฝีมือ และชาวนา ผู้ประกอบอาชีพอันสูงส่งแต่ไร้เกียรติ สามัญชนเหล่านี้ เคยได้รับการเหยียดหยามจากเจ้า และพระราวกับว่าเป็นสัตว์ ต้องใช้เวลานับเป็นศตวรรษทีเดียว ที่จะสร้างความยุติธรรมให้แก่มนุษยชาติ ในอันที่จะทำให้ประจักษ์ว่า เป็นความสยดสยองยิ่ง ที่คนส่วนใหญ่เป็นผู้หว่านไถ แต่คนส่วนน้อย เป็นผู้ชุบมือเปิบเอาพืชผลนั้นไป"

ความคิดดังกล่าวของวอลแตร์ สะท้อนออกในหนังสือเรื่องจดหมายปรัชญา (The Philo – sophical Letters) หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า จดหมายเรื่องเมืองอังกฤษ (Letter on the English) เนื้อหาของหนังสือโจมตีสถาบันและกฎระเบียบต่างๆ ที่ล้าหลังของฝรั่งเศส นอกจากนี้วอลแตร์ยังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศฝรั่งเศสให้ทันสมัยเหมือนอังกฤษ
 
วอลแตร์ได้นำหลักการใช้ เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่าย ๆ วอลแตร์ใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาสาธารณชน เพื่อทำให้ประชาชนได้เข้าใจและตระหนักในปัญหา แนวคิดและความรู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชน เขาเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทาง ความคิดทั้งการพูด การพิมพ์และการนับถือศาสนา ให้ดูแบบอย่างการเมืองการปกครองแบบอังกฤษ วอลแตร์ จึงเป็นผู้มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในช่วงคริสตวรรษที่ 18 นั้น จนเป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “การปฏิวัติฝรั่งเศส ” (French Revolution 1789)
 
ฌอง-ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau, 1712-1778)

เจ้าของแนวคิดสัญญาประชาคม ผู้นำคนสำคัญแห่ง ยุคแสงสว่างทางปัญญา เขาเขียนหนังสือ หลายเล่ม โจมตีความฟอนเฟะของสังคม และการบริหารที่ล้มเหลวของรัฐบาล นอกจากนี้เขายังแสดงทัศนะเกี่ยวกับระบบการศึกษา ปัญหาความไม่เสมอภาคทางสังคมอันเป็นผลจากสภาวะแวดล้อม เรื่องการถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และแนวทางการปกครอง และอื่นๆ 

งานเขียนชิ้นเอกของเขาซึ่งเป็นตำราทางการเมืองที่สำคัญและมีอิทธิพลมาก คือ สัญญาประชาคม (The Social Contract) ค.ศ. 1762 ว่าด้วยปรัชญาทางการเมืองด้านการปกครองและพันธสัญญาทางการเมืองระหว่าง รัฐบาลและประชาชน งานเขียนเรื่องนี้ทำให้รุสโซได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานอำนาจอธิปไตยของ ประชาชน  

The Social Contract หรือ สัญญาประชาคม เขียนขึ้นเพื่อต่อต้านระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฝรั่งเศส แม้ว่าจะเป็นนักปรัชญาชาวสวิส แต่ก็เป็นผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส ในหนังสือเล่มนี้รุสโซกล่าวถึงสัญญาประชาคมว่า หมายถึงสัญญาที่แต่ละคนเข้าร่วมกับทุกคนภายใต้เอกภาพและเจตจำนงเดียวกันโดยที่ประชาชนสามารถก่อตั้งรัฐบาลขึ้นได้ และให้อำนาจแก่รัฐบาลเพื่อรับใช้ประชาชน

แต่ถ้าเมื่อใดที่ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลก็อา
จเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ รุสโซชี้ให้เห็นว่าสภาวะธรรมชาตินั้นเป็นสภาวะที่มนุษย์มีความผาสุกมีอิสระเสรี และความเสมอภาค อย่างไรก็ตามแม้มนุษย์จะเกิดมาเสรีแต่ทุกหนทุกแห่งมนุษย์ก็ถูกตรึงด้วยโซ่ตรวนแห่งพันธนาการ แนวความคิดของรุสโซถือว่าเป็น รากฐานของระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา

เขาหัดอ่านหนังสือและเรียนรู้ด้วยตัวเองตั
้งแต่เด็ก เมื่ออายุ 16 ปีออกเดินทางจากเจนีวาเพื่อท่องเที่ยวและหางาน ทำไปเรื่อย ๆ จนได้เป็นผู้ช่วยทูต เขาตีพิมพ์หนังสือ Discourse on the Arts and Sciences(1750) ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อให้เขาอย่างมาก มีผลงานออกมาทั้งหนังสือวิชาการและนิยาย Julie, ou la nouvelle Heloise (The New Heloise) และ The Confessions of Jean-Jacques Rousseau
 
ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes ค.ศ. 1588-1679)

นักปรัชญาชาวอังกฤษ แนวคิดด้านการเมืองของฮอบส์ ปรากฏในหนังสือ ลีไวอาทัน (Leviathan) ซึ่งเป็นงานเขียนชิ้นเอกของฮอบส์ ฮอบส์กล่าวว่าก่อนหน้าที่มนุษย์จะมาอยู่รวมกัน เป็นสังคมการเมือง มนุษย์มีอิสระและเสรีภาพในการกระทำใดๆ ซึ่งย่อมก่อให้เกิดความวุ่นวาย มนุษย์จึงตกลงกันที่จะหาคนกลางมาทำหน้าที่ปกครองเพื่อให้เกิดสังคมการเมืองที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยแต่ละคนยอมเสียสละอำนาจสูงสุดของตนให้แก่ฝ่ายปกครอง ทั้งนี้ประชาชนมีสิทธิเลือกการปกครองที่สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ โดยมีข้อผูกมัดว่าทุกคนจะต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง ซึ่งจะเป็นผู้ออกกฎหมายมาบังคับประชาชนต่อไป

จะเห็นว่าแม้ฮอบส์จะนิยมระบอบกษัตริย์แต่ก
็มีแนวความคิดว่าอำนาจของกษัตริย์ไม่ใช่อำนาจของเทวสิทธิ์ หรืออำนาจ ศักดิ์สิทธิ์ แท้จริงแล้วเป็นอำนาจที่ประชาชนยินยอมพร้อมใจมอบให้ ส่วนทางศาสนจักรนั้น ฮอบส์มีความเห็นว่าไม่ควรเข้ามาเกี่ยวกับการปกครองของรัฐ

นอกจากนี้ ฮอบส์ ยังโจมตีความเชื่อทางศาสนาของมนุษย์ว่าเป็
นเรื่องไร้เหตุผล มนุษย์ควรมีชีวิตอยู่ด้วยเหตุผล และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ควรอยู่ด้วยความเชื่องมงาย อย่างไรก็ตามฮอบส์มิได้ปฏิเสธพระเจ้า แต่ปฏิเสธพิธีกรรมและผู้นำทางศาสนา
 
จอห์น ล็อก (John Locke ค.ศ. 1632-1704) 

นักปรัชญาชาวอังกฤษ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Two Treatises of Government (ค.ศ. 1689) แนวคิดหลักของหนังสือคือ การเสนอทฤษฎีที่ว่ารัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยความยินยอมของประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

แนวคิดทางการเมืองของล็อก อาจสรุปได้ว่าประชาชนเป็นที่มาของอำนาจทางการเมืองและมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ รัฐบาลจึงมีหน้าที่ปกครองโดยคำนึงถึงประโยชน์และสิทธิธรรมชาติของ ประชาชนอันได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน รัฐบาลมีอำนาจภายในขอบเขตที่ประชาชนมอบให้ และจะใช้เฉพาะเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เท่านั้น รัฐต้องไม่เข้าแทรกแซงในกิจการของปัจเจกชน นอกจากในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เพื่อรักษาเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้นั้น แนวคิดทางการเมืองดังกล่าวจึงเป็นรากฐานความคิดของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ และมีอิทธิพลต่อปัญญาชนและปรัชญาเมธีของยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (philosophes) ของฝรั่งเศส