วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ซ่งชิงหลิง (宋庆龄) ภรรยา ดร.ซุน ยัดเซ็น

ซ่งชิงหลิง (宋庆龄)
ซ่งชิงหลิง (ค.ศ.1893 -1981) มีชื่อคริสเตียนว่า โรซามอนด์ (Rosamond) เป็นบุตรสาวคนที่สองในตะกูลซ่ง บิดาชื่อชาร์ลี เป็นนักธุรกิจผู้มั่งคั่ง  ชาร์ลี มีโอกาสได้รู้จัก กับ นายแพทย์นักปฏิวัติผู้มีชื่อว่า ซุนเหวิน หรือ ซุนยัดเซ็น (ซุนจงซาน:孙中山) และช่วยจัดพิมพ์เอกสารที่สนับสนุนต่อต้านราชวงศ์ชิง โดยในเวลาต่อมาเมื่อ ซุนยัดเซ็นร่วมก่อตั้ง ขบวนการกู้ชาติที่ชื่อ ถงเหมิงฮุ่ย (同盟会) ขึ้นที่ญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1905 ชาร์ลีก็ได้ให้เงินสนับสนุน  ถงเหมิงฮุ่ยมากถึง 20,000 เหรียญสหรัฐฯ

ชาร์ลี บิดาของซ่งชิงหลิง
ซ่งชิงหลิง เข้าเรียนที่วิทยาลัยสตรีเวสลีเยน ตามพี่สาว เธอมีจิตใจอันมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศจีนให้พ้นจากความครอบงำของต่างชาติและล้าหลังรอบด้าน ลัทธิขุนศึก แนวคิดอนุรักษ์นิยมแบบเก่าๆ ที่ตกทอดกันมาตั้งแต่ยุคจีนปกครองด้วยระบอบกษัตริย์นั้นมีเหนือกว่าผู้หญิงจีนธรรมดาทั่วๆ ไป

ซ่งชิงหลิง รับตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายแพทย์นักปฏิวัติ คือ ดร.ซุนยัดเซ็น ได้ไม่นาน ก็ตกหลุมรักกับ ดร.ซุนยัดเซ็น วีรบุรุษผู้ที่เธอเทิดทูนและเป็นเพื่อนของพ่อ (ชาร์ลี ซ่ง) ซึ่งมีอายุห่างจากเธอเกือบ 30 ปี ชาร์ลี ซ่ง เมื่อทราบข่าวความรักต่างวัยระหว่างเพื่อนกับลูกสาวเข้าก็คัดค้านอย่างเต็มที่ โดยถึงกับขู่ว่าหาก ชิ่งหลิง จะแต่งงานกับ ดร.ซุนยัดเซ็น จริงแล้วละก็ เขาพร้อมจะตัดเป็นตัดตายกับลูกสาวคนนี้ และเพื่อนผู้กอดคอกันร่วมทำการปฏิวัติมาด้วยกัน! โดยเหตุผลของ ชาร์ลี ก็คือ นอกจากลูกจะแต่งงานกับเพื่อน ที่ยังไม่หย่ากับภรรยาเดิม แล้ว เธออาจไปรบกวนสมาธิในการทำเรื่องใหญ่ คือ การกู้ชาติ ของ ซุนยัดเซ็น อีกด้วย

เมื่อจบการศึกษากลับจากต่างประเทศก็มาช่วย ดร.ซุน เพราะเป็นคนที่รักชาติมากกว่าอื่นใดโดยทุกสิ่งที่ทำจะคำนึงถึงประเทศชาติก่อน การมาช่วยงานดร.ซุนได้นำไปสู่ความรัก และตอนหลังแต่งงานกันที่ประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากกับ ชาลี ซ่ง ผู้พ่อ จนถึงกับประกาศตัดสัมพันธ์กับดร.ซุนอย่างเด็ดขาด และกล่าวหา ดร.ซุน เป็น คนลวงโลกต่อว่าดร.ซุนว่าข้าฯได้ทุ่มเททั้งเงินทองและชีวิตเพื่อเป็นทุนช่วยเหลือในการก่อการปฏิวัติ แต่ไม่ได้หมายถึงให้ลูกสาวเป็นทุนในการปฏิวัติด้วย

ประวัติระบุว่า ซ่งชิงหลิง ที่ถูกพ่อกักขังไว้ในบ้านเพื่อไม่ให้ไปพบกับ ดร.ซุน ยัดเซ็น เธอจึงปีนหนีออกมาจากห้องนอน และหลบหนีออกจากจีนไปแต่งงานกับดร.ซุนยัดเซ็น ณ ฐานที่มั่นในการปฏิวัติที่ญี่ปุ่น ซึ่งสุดท้าย พ่อก็ให้อภัยเมื่อเธอกลับไปเยี่ยมพ่อ

ทั้งคู่แต่งงานกันเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1915 ซึ่งในวันแต่งงาน ดร.ซุนมอง"ของขวัญพิเศษ"ให้ภรรยา คือ"ปืนพก" ซึ่งปัจจุบันก็วางคู่กันอยู่กับปืนประจำตัวของดร.ซุน  มีคนบอกว่า การมอบปืนพกให้ เพราะดร.ซุน ต้องการบอกภรรยาว่า การมาเป็นคู่ชีวิตของนักปฏิวัติอย่างเขา จะต้องต่อสู้และฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการ

ซ่งชิงหลิงกับดร.ซุนยัดเซน

ซ่งชิงหลิง  เธอมีจิตใจอันมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศจีนให้พ้นจากความครอบงำของต่างชาติและล้าหลังรอบด้าน ลัทธิขุนศึก แนวคิดอนุรักษ์นิยมแบบเก่าๆ ที่ตกทอดกันมาตั้งแต่ยุคจีนปกครองด้วยระบอบกษัตริย์นั้นมีเหนือกว่าผู้หญิงจีนธรรมดาทั่วๆ ไป  ซ่งชิงหลิง ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีกิตติมศักดิ์ ในปี 1981-1983