วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ถ้อยแถลงขององค์การบริหาร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตุลาคม 2517

ถ้อยแถลงขององค์การบริหาร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตุลาคม 2517 น่าสนใจมาก ผมอ่านแล้วมีความรู้สึกว่าบ้านเมืองนี้ และสังคมนี้ไม่ได้เดินไปไหนไกล หรือแตกต่างจากช่วง 38 ปีที่แล้วเลย ลองอ่านดูครับ

เผด็จการถูกขจัดพ้นไปจากสังคมไทยแล้วกระนั้นหรือ ?

สังคม ไทยทุกวันนี้ รากฐานของปัญหาที่ทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นคือ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นปกครองผู้ไม่ยอมสูญเสียอำนาจกับการรวมพลังเข้า ต่อสู้ของประชาชนโดยมีเป้าหมายอันสูงสุดคือการเป็นเจ้าของประเทศโดยสมบูรณ์ เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๙-๑๔ ตุลา ศกที่แล้ว มิได้ปลุกสำนึกของชนชั้นปกครองและอภิสิทธิ์ชนทั้งหลายให้กระจ่างแจ้งถึงความ ขัดแแย้งประการนี้เลย กลับยกความผิดของความยุ่งยากทั้งหลายในบ้านเมืองให้แก่ประชาชนผู้ต่อสู้เพื่อปากท้องของตัวเองว่าเป็นผู้ทำลายความสงบสุขของบ้านเมือง

ปัจจุบัน สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เป็นอยู่ แทบจะกล่าวได้ว่ามิได้ผิดเพี้ยนไปจากยุคสมัยเผด็จการทหารที่ถูกพลังประชาชน นิสิต นักศึกษา โค่นล้มลงแม้แต่น้อย พลังประชาชนที่ผลักดันกงล้อประวัติศาสตร์ให้หลุดพ้นจากวัฎจักรแห่งความซ้ำ ซาก มีความหมายสำหรับชนชั้นปกครองและชนชั้นอภิสิทธิ์ชนเพียงความไม่พอใจของ ประชาชนต่อผู้เผด็จการ มากกว่าระบบเผด็จการ

บ้านเมืองเรา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ระบบการเมืองและเศรษฐกิจได้ก่อกำเนิดขึ้นเพื่อรับใช้คนกลุ่มน้อย คนส่วนใหญ่คือประชาชนถูกกีดกันโดยโซ่ตรวนทางการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ โดยสายใยของการควบคุมและการใช้อำนาจกลไกรัฐและโดยเครื่องพันธนาการทางกฎหมาย ที่จองจำความคิดและพลังประชาชน

ความปรารถนาที่จะหลุดพ้นจาก สถานภาพเก่าที่กำหนดให้คนส่วนใหญ่เปนเสมือนทาสทางเศรษฐกิจ ทางความคิด  จึงเป็นปฐมเหตุสำคัญที่นำไปสู่การรวมพลังครั้งใหญ่ของประชาชน นิสิต นักศึกษา และนักเรียน เพื่อล้มล้างระบบที่กดขี่เอารัดเอาเปรียบเพื่อนร่วมชาติด้วยกัน วิญญาณแห่ง ๑๔ ตุลาที่แล้วมาจะต้องจารึกเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการก้าวไปข้างหน้าของสังคม เรา โดยไม่มีพลังอื่นใดมายับยั้งได้ ประชาชนไทยเราที่ถูกระบบที่แล้วมากดขี่ เบียดเบียน ได้ก้าวเข้ามาเพื่อกำหนดอนาคตระบบเศรษฐกิจการเมืองให้กำเนิดขึ้นใหม่ โดยยึดถือของประชาชนเป็นที่ตั้ง

การโค่นล้มเผด็จการทหารครั้ง ที่แล้ว เป็นการก้าวครั้งสำคัญยิ่งของประชาชนไทย ภายใต้กระแสสำนึกทางการเมืองที่สูงส่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับสภาวการณ์แห่งความขัดแย้ง ระหว่างระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนรากฐานอำนวยประโยชน์แก่ชนกลุ่มน้อย กับพลังประชาชนที่ก้าวหน้า เป็นสิ่งยืนยันได้ว่าระบอบเผด็จการทางทหารที่จะสถาปนาขึ้นมาย่อมจะประสบการ ต่อต้านอย่างเข้มแข็ง

เป้าหมายของการต่อสู้ก็คือ ระบอบประชาธิปไตย์สมบูรณ์ที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจน ที่ถูกระบบ "มือใครยาว สาวได้ สาวเอา" กดขี่เอารัดเอาเปรียบ ระบบที่ทำลายคุณค่าของมนุษยชนที่เห็นคนด้วยกันมีค่าเพียงสินค้า ระบบที่นับวันมีแต่จะกดดันให้ประชาชนผู้มีอาชีพทำนาทำไร่ มีฐานะเป็นเพียงทาสติดที่ดิน ระบบที่ผลักไสประชาชนส่วนใหญ่ให้สูญสิ้นซึ่งทรัพย์สิน ส่วนความมั่งคั่งเป็นของผูกขาดในมือของคนกลุ่มน้อย การที่จะให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยสมบูรณ์ของประชาชนอย่างแท้จริง จะต้องได้มาจากการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลของประชาชน ซึ่งเป็นรัฐบาลที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อสู้ของประชาชนมิใช่ใช้อำนาจรัฐกด ขี่ รัฐบาลที่เข้าไปแก้ไขการขัดแย้งมูลฐานของประชาชน มิใช่รัฐบาลที่มุ่งรักษากลไกของการขัดแย้งเอารัดเอาเปรียบนั้นไว้

ชน ชั้นปกครองในประเทศไทยทุกยุคทุกสมัยได้พยายามทำลายพลังประชาชนตลอดมา การเปลี่ยนแปลงที่มาจากการเคลื่อนไหวของประชาชนถูกตรหน้าเสมอว่าเป็นการบ่อน ทำลายความเป็นเอกภาพในสังคมไทย ซึ่งที่แท้แล้วเป็นเอกภาพระหว่างผู้ได้เปรียบกับผู้เสียเปรียบ เอกภาพระหว่างนายกับทาส เอกภาพระหว่างผู้ขูดรีดกับผู้ถูกขูดรีด การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสังคมไทยอนาคตข้างหน้า จะมีทางก้าวไปอย่างสันติหรือรุนแรงนั้น ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนทัศนะคติของชนชั้นปกครองในกรณีเอกภาพของสังคม

สำหรับผู้ที่ต่อสู้กับเผด็จการทุกรูปแบบ "อนาคตของเขาไม่มี มีแต่อนาคตอันสดใสของประชาชนเท่านั้น"

ถ้อยแถลงขององค์การบริหาร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตุลาคม 2517

ตัดมาจากหนังสื่อ "เราจะต้านเผด็จการอย่างไร" ปรีดี พนมยงศ์