วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

การปฏิวัติคิวบา

การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจากระบอบเผด็จการมาสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ โดยการนำของฟิเดล คาสโตร คิวบาเป็น 1 ใน 5 ประเทศของโลกยุคปัจจุบันที่ปกครองประเทศด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ นอกเหนือไปจาก จีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม และลาว

เมื่อชาวสเปนเดินทางมาถึงคิวบาครั้งแรกในปี ค.ศ.1532 นั้น ดินแดนแห่งนี้ไม่ได้รับความสนใจจากชาวยุโรปเท่าไรนัก เพราะไม่มีแร่ธาตุหรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญที่แสวงหา จึงพากันมุ่งหน้าไปยังทวีปอเมริกาใต้หรือหมู่เกาะอื่น ๆ ในแคริเบียนแทน จนกระทั่งเกิดความวุ่นวายในเฮติ อันเป็นแหล่งปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล สเปนจึงหวนกลับมายังคิวบา ในปี 1890 พร้อมกับผลักดันให้อาณานิคมแห่งสุดท้ายในอเมริกาใต้ของตนกลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมน้ำตาล จนกระทั่ง เกิดการเรียกร้องเอกราชในอีก 100 ปีต่อมา โดยได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งนำไปสู่สงครามทางเรือระหว่างสเปนกับสหรัฐฯ ที่จบลงด้วยความปราชัยของสเปนและเอกราชของคิวบา

หลังจากได้รับเอกราช คิวบาถูกครอบงำทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารจากสหรัฐฯ ซึ่งเข้ามาดำเนินธุรกิจต่างๆ แบบผูกขาด การแผ่ขยายอิทธิพลแบบทุนนิยมของสหรัฐฯ ส่งผลให้ชาวนาชาวไร่ประสบกับความยากจน ไม่มีที่ดินทำกิน เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกนายทุนสหรัฐฯ กว้านซื้อไปปลูกอ้อย ขณะที่ธุรกิจรายย่อยของคิวบาต้องล้มละลาย เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับระบบและกลไกทางธุรกิจที่มีการจัดการและเครือข่ายใหญ่โตกว่าได้ ส่วนภาครัฐ และภาคการเมืองก็ขาดประสิทธิภาพ เกิดการคอรัปชั่นอย่างกว้างขวาง ประมาณว่าก่อนปี 1959 อุตสาหกรรมน้ำตาล 90 เปอร์เซ็นต์ ตกอยู่ในมือของนายทุนสหรัฐฯ นอกเหนือจากกิจการไฟฟ้าและโทรศัพท์ อีกร้อยละ 90 กิจการรถไฟ ร้อยละ 50 ธนาคาร ร้อยละ 25 กิจการเหมืองแร่และน้ำมันแทบจะทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ และสินค้าเข้าเกือบทุกอย่างของคิวบาต้องพึ่งพิงการสั่งซื้อและขนส่งจากสหรัฐฯ   

การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของคิวบาในปี ค.ศ. 1959 มีสาเหตุสำคัญมาจากปัญหารการครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองของอเมริกาที่ เริ่มมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเข้าไปลงทุนขยายกิจการปลูกอ้อยและการทำอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลของ บริษัทอเมริกัน และบริษัทต่างชาติอื่นๆ  ได้ทำให้ผู้ผลิตอ้อยและผู้ผลิตน้ำตาลรายย่อยตลอดจนนายทุนระดับชาติของคิวบา ไม่สามารถแข่งขันได้  เนื่องจากมีทุนน้อยกว่าจนต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก จากในสถิติปี ค.ศ. 1959 นั้น บริษัทอเมริกันเป็นเจ้าของโรงงานผลิตน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุด 9 ใน 10 แห่งของคิวบา  นอกจากนั้น ชาวอเมริกันยังเป็นเจ้าของกิจการไฟฟ้าและโทรศัพท์ถึงร้อยละ 90 กิจการรถไฟร้อยละ 50 กิจการธนาคารร้อยละ 25 กิจการน้ำมันและเหมืองแร่เกือบทั้งหมด เป็นต้น  สินค้าที่เข้ามาจากอเมริกาในแต่ละปีก็มูลค่ามหาศาล อันทำให้คิวบาต้องพึ่งพาอเมริกาและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นเริ่มต้นของคิวบาอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ สภาวะเศรษฐกิจของคิวบาจึงถูกกำหนดโดยอเมริกาอย่างแท้จริง

ในทางการเมืองนั้น ผู้บริหารประเทศของคิวบาในระดับต่างๆจำนวนมากอยู่ภายใต้อิทธิพลของอเมริกา จึงพร้อมที่จะวางนโยบายเศรษฐกิจเพื่อสนองการลงทุนของนายทุนต่างชาติ แต่ไม่มีมาตรการที่จะช่วยส่งเสริมการลงทุนของนายทุนคิวบา และช่วยพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติอย่างมีประสิทธิภาพ 

สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความไม่พอใจการใช้อำนาจการปกครองแบบเผด็จการของประธานาธิบดีบาติสต้า ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ผู้มีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากรัฐบาลสามารถมี ส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และผู้ที่คัดค้านรัฐบาลก็ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง 

Fulgencio Batista ประธานาธิบดีคิวบา
ในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 ฟิเดล คาสโตร นักกฎหมายชาวคิวบาได้นำกำลังติดอาวุธกว่า 100 คนเข้าโจมตีค่ายทหารมอนกาดา ( Moncada ) ที่เมืองซานติอาโก เด กูบา แต่ต้องพ่ายแพ้แก่ฝ่ายทหาร อย่างไรก็ตามการกระทำครั้งนี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติโค่นล้ม ประธานาธิบดีบาติสตา และเป็นที่มาของ "ขบวนการ 26 กรกฎาคม" ฟิเดล คาสโตรและน้องชายชื่อ ราอูล คาสโตร ถูกจับและถูกพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 15 ปี แต่ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1955 กลุ่มของคาสโตรได้รับการอภัยโทษ จึงได้เดินทางไปยังอเมริกาและเม็กซิโกเพื่อเตรียมการปฏิวัติอีกครั้งหนึ่ง  

Fidel Alejandro Castro Ruz

ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1956 ฟิเดล คาสโตร พร้อมด้วย Ernesto Che Guevara นักปฏิวัติชาวอาร์เจนตินา จึงได้นำกองกำลังติดอาวุธ 82 คนจากเม็กซิโกมาขึ้นฝั่งที่จังหวัดโอเรียนเตในคิวบา กองกำลังดังกล่าวได้ปะทะกับทหารของรัฐบาลและรอดชีวิตเพียง 12 คน จึงต้องหลบหนีไปตั้งมั่นอยู่บริเวณเทือกเขา มาเอสตรา เพื่อใช้เป็นฐานทำการปฏิวัติต่อไป 

บรรดานักปฏิวัติที่รอดตายเหล่านี้ไม่มีใครเลยที่มาจากชนชั้นกรรมกรและชาวนา
-ฟิเดล คาสโตรและดอร์ติโกส  เป็นนักกฎหมาย
-ราอูล คาสโตร และ โชมอน    เป็นนักศึกษา
-เปเรสและบาเยโฮ เป็นแพทย์
-ปาอิส เป็นอาจารย์
-เซียนฟูเอโกส และ อัลเมเฮอิราส เป็นชนชั้นกลางที่ตกงาน
-เช กูวาร่าเป็นนักศึกษาแพทย์

ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1956 ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1958 มีผู้เข้าร่วมสมทบในกองกำลังปฏิวัติเพียงประมาณ 1,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกรรมกรโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ใช้แรงงานในไร่นา และชาวนายากจน  บุคคลเหล่านี้ไม่ได้เลื่อมใสหรือเข้าใจอุดมการณ์สังคมนิยมแต่อย่างใด แต่ต้องการเพียงจะต่อสู้กับพวกนายทุนที่กดขี่เอารัดเอาเปรียบและยึดที่ดินทำกิน  ฝ่ายปฏิวัติต้องสร้างพันธมิตรกับชาวนาในเขตที่ทำสงครามจรยุทธ์โดยให้สัญญา ว่าจะให้ผลตอบแทนด้านวัตถุ เช่น ช่วยซื้อผลิตผลทางการเกษตรและจัดหาเครื่องอุปโภคที่ขาดแคลนมาให้ เป็นต้น  

ความไม่พอใจระบอบเผด็จการของบาติสต้าและสภาพสังคมที่เป็นอยู่ทำให้มีการแสดง พลังต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มต่างๆ หลายครั้ง ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957 นักศึกษาได้บุกโจมตีทำเนียบประธานาธิบดี ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ได้มีการนัดหยุดงานทั่วไป  ในเดือนต่อมาทหารเรือที่เมืองเซียนฟูเอโกสได้ก่อการแข็งข้อต่อรัฐบาล และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1958 ก็ได้มีการนัดหยุดงานทั่วไปอีก  ในเวลาเดียวกันนี้ ขบวนการปฏิวัติของฟิเดล คาสโตร ก็สามารถเปิดแนวรบที่ 2 ที่เทือกเขากริสตาล
 
วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1959 กองกำลังฝ่ายปฏิวัติก็ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด  โดยเข้ายึดกรุงฮาวานาได้ด้วยกำลังที่มีไม่ถึง 2,000 คน ประธานาธิบดีบาติสต้าหลบหนีไปสาธารณรัฐโดมินิกัน ถือเป็นความสำเร็จของคณะปฏิวัติ

การรบแห่งซันตา คลาร่า ( Battle of Santa Clara )
ทหารฝ่ายปฏิวัติขับรถถังเชอร์แมนผลิตในสหรัฐฯของฝ่ายบาติสตา
หลังจากได้รับชัยชนะที่เมืองซันตา คลารา ปลดปล่อยคิวบาได้สำเร็จ
28 ธันวาคม,1958 - 1 มกราคม,1959

สถานที่ ซันตา คลารา , คิวบา

ผลการรบ

ขบวนการ26กรกฏาฯได้รับชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
  • ฝ่ายบาติสตาพ่ายแพ้ในศึกสุดท้าย
  • บาติสตาลี้ภัยออกจากคิวบา
วันเวลา 28 ธันวาคม,1958 - 1 มกราคม,1959
สถานที่ ซันตา คลารา , คิวบา
ผลการรบ ขบวนการ26กรกฏาฯได้รับชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
  • ฝ่ายบาติสตาพ่ายแพ้ในศึกสุดท้าย
  • บาติสตาลี้ภัยออกจากคิวบา
คู่สงคราม
ขบวนการ26กรกฏาฯ
รัฐบาลบาติสตา
ผู้บัญชาการรบ
เช เกบารา
โรลันโด้ กูเบลา
โรเบอโต้ ร็อดริเกซ  †
นูนเยซ จิมีเนซ
พันเอก โจควิน กาซิยาส  †
หัวหน้าตร. โกร'เนลีโอ โรจาส   †
พันเอก เฟอร์นานเดซ ซยูโร
พันเอก แคนดิโด เฮอร์นานเดซ
กำลังพล
กองโจร 340คน
ทหาร 3,900คน
รถถัง 10คัน
บ.ทิ้งระเบิด บี-26
รถไฟหุ้มเกราะ
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ,โรเบอโ้ต้ ร็อดริเกซ
เสียชีวิตในการรบ
ทหาร 2,900นาย ถูกจับเป็นเชลย
(ปล่อยตัวในภายหลัง),พันเอกกาซิยาส
และหัวหน้าตร.โรจาสถูกประหารชีวิต

† = เสียชีวิต

ศึกชิงเมืองซันตา คลารา เกิดขึ้นปลายเดือนธันวาคม ปี1958 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามปฏิวัติคิวบา เพื่อโค่นล้มอำนาจของ จอมเผด็จการฟุลเฮนซิโอ บาติสตา ผู้มีสหรัฐฯหนุนหลัง คนสั่งให้ยึดเมืองนี้คือ เช กูวารา ฝ่ายปฏิวัติสามารถยึดเมืองสำคัญ ตอนกลางของประเทศแห่งนี้ไว้ได้สำเร็จ หลังจากยึดเมืองได้เป็นเวลาเพียง 12ชั่วโมง จอมพลบาติสตาก็ได้ลี้ภัยออกจากคิวบาไป ทำให้ฟิเดล คาสโตร ประกาศอ้างว่าฝ่ายปฏิวัติได้รับชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้ว
 
ขบวนทัพของเชเริ่มเคลื่อนทัพเมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม ปี 1958 มาจากท่าเรือชายฝั่งทะเลของเมืองไคบาีรีน (Caibarién) ไปตามถนนสู่เมืองคามาัจัวเน ( Camajuaní ) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองไคบารีนและเมืองซันตา คลารา ระหว่างการเดินทางพวกเขาได้รับเสียงเชียร์จากประชาชน แสดงการต้อนรับและยินดีต่อการมาของพวกเขา ในวันเดียวกันเมื่อได้รับกำลังเสริม ฝ่ายปฏิวัติก็สามารถยึดเมืองไคบารีนสำเร็จ นับว่าชัยชนะอยู่แค่เอื้อมเท่านั้น ทหารของบาติสตาที่มีหน้าที่รักษาเมืองคามาจัวเนได้ละทิ้งที่มั่นไป ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่เกิดการปะทะกันแต่อย่างใด ทัพของเชจึงมุ่งหน้าต่อไปและมาถึงมหาวิทยาลัยของเมืองซันตา คลารา ซึ่งตั้งอยู่ชานเมืองในตอนดึก

ณ.ที่นั่น เช ได้แบ่งทัพของเขา ( ประมาณ300คน ) ออกเป็นสองส่วน ขบวนทัพทางใต้ได้ปะทะกับกองกำลังป้องกันของพันเอก กาซิยาส ลัมปิย ( Colonel Casillas Lumpuy ) ซึ่งมีรถไฟหุ้มเกราะ ( armoured train ) ที่ส่งมาโดยบาติสต้าเพื่อนำกระสุนและอาวุธยุทโธปกรณ์ มาเพิ่มเติมให้กับฝ่ายป้องกัน 


ทหารของบาติสต้าได้เดินเท้าขึ้นไปบนเนินกาปิโร (Capiro) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่นั่น เช จึงได้ส่งทหาร"หน่วยพลีชีพ" ( "suicide squad" ) ภายใต้ผู้นำที่มีอายุน้อยเพียง 18ปี นามว่า โรเบอโต้ ร็อดริเกซ ( Roberto Rodríguez)  รู้จักกันในกลุ่มว่า เอล วาเควริโต้ ( El Vaquerito )  เข้ายึดเนินโดยใช้ระเบิดมือเข้าโจมตี ฝ่ายป้องกันได้ถอยออกจากกองบัญชาการด้วยความเร็วอย่างน่าทึ่ง โดยนายทหารและทหารได้ใช้รถไฟวิ่งไปสู่ใจกลางเมือง

ภายในเมืองเองก็เกิดการต่อสู้กันอย่างประปราย ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและขบวนทัพที่สองของฝ่ายปฏิวัิติ นำโดย โรลันโด้ กูเบลา ( Rolando Cubela ) โดยมีประชาชนที่ได้รับการสอนใช้ระเบิดขวด ( molotov cocktails ) เข้าร่วมด้วย กองทัพทั้งสองของรัฐบาล ( ค่ายทหารของกรมทหาร ลีออนซิโอ วิเดล ( Leoncio Vidal Regiment ) และกรมทหารรักษาชนบทที่ 31 ( 31 Regiment of the Rural Guard)  ถูกล้อมกรอบโดยทัพของกูวารา แม้ว่าจะได้รับการสนุนจากทางอากาศ,หน่วยซุ่มยิง และรถถัง 

โรลันโด้ กูเบลา ( Rolando Cubela )
ยึดรถไฟ
เชเห็นว่าจะต้องยึดรถไฟให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก เขาจึงให้นำรถแทร็กเตอร์ ของคณะเกษตรในมหาวิทยาลัย มาบดทำลายรางรถไฟให้ใช้การไม่ได้ ส่งผลให้รถไฟที่บรรทุกทหารจากเนินกาปิโรตกราง จนนายทหารต้องขอพักรบ เหล่าทหารของบาติสต้าขวัญกำลังใจตกต่ำลงมาก จึงเริ่มไปเข้าพวกกับฝ่ายปฏิวัิติ โดยพวกเขาบอกว่าเบื่อที่จะฆ่าพี่น้องร่วมชาติเดียวกันแล้ว เมื่อรถไฟหุ้มเกราะถูกยึด ทหารกับนายทหารของบาติสต้าทั้งหมด 350 คน จึงถูกจับเป็นเชลย 

รถแทร็กเตอร์ที่ใช้ทำลายรางรถไฟถูกตั้งเป็นอนุสรณ์
รถไฟที่ถูกยึดปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ของเมือง
นอกจากนี้รถไฟคันนี้ยังได้บรรทุกอาวุธมาเป็นจำนวนมาก รวมถึงปืนบาซูก้าด้วย การได้อาวุธเหล่านี้มาเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายปฏิวัิติมาก อาวุธเหล่านี้ถูกส่งมอบให้แก่ทหารปฏิวัติและประชาชนผู้สนับสนุน บางรายงานกล่าวว่า การที่รถไฟของบาติสต้ายอมแพ้และพักรบ ได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าแล้ว ด้วยการจ่ายเงินสินบนให้กับนายทหารบนรถไฟ โดยขบวนการเคลื่อนไหว 26 กรกฏาฯ (26th of July Movement) เชได้อธิบายว่าทหารในรถไฟถูกบังคับให้ออกมา เนื่องจากถูกระดมขว้างด้วยระเบิดขวด จนรถไฟหุ้มเกราะเหล็กกลายเป็น "เตาอบทหารโดยแท้"

การที่รถไฟหุ้มเกราะถูกยึด รวมทั้งการใช้สื่อของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายปฏิวัิติ พิสูจน์ให้เห็นว่าการปฏิวััติมาถึงจุดสุดยอดแล้ว แม้ว่าในวันถัดมาหนังสือพิมพ์ของบาติสตาจะพาดหัวข่าวอย่างโกหกหน้าตายว่า "ชัยชนะของรัฐบาลที่ซันตา คลารา" ตรงกันข้ามกันกับข่าวของคาสโตรที่กล่าวว่า กองทัพรัฐบาลกำลังทยอยกันยอมแพ้ต่อฝ่ายปฏิวัิติ แถมยังลงท้ายไว้ด้วยว่า "ไม่มีอุปสรรค" ที่กองทัพปฏิวัติจะมุ่งหน้าสู่กรุงฮาวานา นครหลวงของประเทศ เพื่อเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล 

วัน ที่ 1 มกราคม 1959 กองทัพปฏิวัติของคาสโตรก็ประกาศชัยชนะอย่างเด็ดขาด โดยยาตราเข้าสู่กรุงฮาวานา ท่ามกลางการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่จากประชาชน ประธานาธิบดีบาลิสต้าลี้ภัยไปต่างประเทศ คาสโตรสถาปนาการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้นในคิวบา โดยได้รับการแซงค์ชั่นจากสหรัฐฯ ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้ชาวคิวบาพลัดถิ่นก่อการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของคาสโตร ทำให้คิวบาหันไปสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับค่ายสังคมนิยม โดยเฉพาะกับโซเวียต จนนำไปสู่การเผชิญหน้าครั้งสำคัญแห่งยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ และโซเวียต เมื่อโซเวียตมีแผนจะติดตั้งขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์ในดินแดนของคิวบา

เช หลังจากการรบที่ซันตา คลารา วันที่ 1 มกราคม ปี 1959
ในที่สุดเมื่อฟิเดล คาสโตร เห็นว่าระบบสังคมนิยมในคิวบามีความมั่นคงเพียงพอแล้วจึงได้ปรับปรุงโครง สร้างทางการเมืองครั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1976 โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดให้มีสถาบันและกระบวนการทางการเมืองที่ใกล้เคียงกับของสหภาพโซเวียต เริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนระดับท้องถิ่นโดยตรง และให้มีรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดยตัวแทนประชาชน ระบบดังกล่าวได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน