วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ โรเบสปีแอร์

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ โรแบร์ปีแอร์
มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ โรเบสปีแอร์ ( Maximilien François Marie Isidore de Robespierre ) 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1758 - 28 กรกฎาคม ค.ศ.1794

เป็นผู้นำขบวนการปฏิวัติฝรั่งเศษในการโค่นล้มระบอบกษัตริย์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในฝรั่งเศส แต่สุดท้ายเค้าได้ครองอำนาจและนำพาฝรั่งเศสเข้าสู่ยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัว ( Reign Of Terror ) ค.ศ. 1793 - ค.ศ. 1794 

มักซีมีเลียง โรเบสปีแอร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1758 ที่เมืองอารัส แคว้นนอร์-ปา-เดอ-กาแล ประเทศฝรั่งเศส เค้าได้เป็นนิติกรประจำเมืองบ้านเกิดเพราะความสามารถและความรอบรู้

โรเบสปิแอร์เป็นนักศึกษากฎหมายหนุ่มอนาคตไกล โรเบสปิแอร์ได้มีโอกาสพบกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดยขณะนั้น โรเบสปิแอร์เป็นผู้นำถวายงานเลี้ยงต้อนรับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อองตัวเนต ที่เสด็จมาสู่นครปารีสและได้มาที่วิทยาลัยที่เขาศึกษาอยู่ โรเบสปิแอร์ได้กราบทูลถวายการต้อนรับเป็นภาษาลาติน ต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แต่ในขณะนั้นไม่ได้รับความสนใจจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เท่าไหร่นักในขณะที่เขากล่าวคำสรรเสริญเพื่อต้อนรับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โรเบสปิแอร์จึงได้พบกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ตั้งแต่เขายังเป็นวัยรุ่น

ภายหลังจากความอดอยากของประชาชนในประเทศฝรั่งเศส มีฎีกาฉบับนึงที่โจมตีความฟุ่มเฟือยของราชสำนักในเวลานั้นขณะที่ประชาชนต้องเผชิญกับยุคข้าวยาก หมากแพง และการขาดขนมปังซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวฝรั่งเศส โดยข้อความส่วนนึงของฎีกาฉบับนี้มีข้อความบางส่วนว่า "รู้หรือไม่ว่าทำไมจึงมีประชาชนอดอยากมากมายถึงเพียงนี้ ก็เพราะความฟุ่มเฟือยของท่านในเวลาเพียง 1 วัน ก็สามารถเลี้ยงดูประชาชนได้ถึง 1,000 พันคน" และคนที่อยู่เบื้องหลังการเขียนฎีกาฉบับนี้ก็คือ โรเบสปิแอร์นั่นเอง

4 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 โรเบสปิแอร์ในฐานะทนายความและนักการเมืองหนุ่มผู้มีความสามารถได้มาถึงแวร์ไซน์ เพื่อร่วมประชุมสภาฐานันดรของฝรั่งเศส

การเปิดประชุมรัฐสภา เมื่อรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจโดยเก็บภาษีอากรที่ดินจาก พลเมืองทุกฐานันดร จึงต้องเรียกประชุมรัฐสภา ที่เรียกว่า “สภาฐานันดรแห่งชาติ” ( Estates General ) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของฐานันดรทั้ง 3 ฐานันดร ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1789 ซึ่งการประชุมนี้นั้นเป็นการเปิดประชุมครั้งแรกภายในเวลากว่า 175 ปีที่ผ่านมา

“สภาฐานันดรแห่งชาติ” ( Estates General )

สภาฐานันดรของฝรั่งเศสในสมัยศตวรรษที่ 18 นั้นแบ่งออกเป็น 3 ฐานันดรประกอบไปด้วย
ฐานันดรแรก พระ
ฐานันดรที่สอง ขุนนาง
และฐานันดรสุดท้ายคือประชาชน

ซึ่งสภาฐานันดรของ 2 กลุ่มแรกมีเพียงร้อยละ 3 ของประชากรมั้งประเทศ ส่วนฐานันดรสุดท้ายนั้นคิดเป็นร้อยละ 97 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งทำให้การประชุมแต่ละครั้งสร้างความไม่พอใจให้สภาฐานันดรที่ 3 เพราะเป็นฐานันดรที่มีประชากรมากที่สุดแต่ต้องแพ้ให้กับสภา 2 ฐานันดรแรก ทำให้พวกเค้าเห็นว่าไม่ยุติธรรม

โรเบสปิแอร์มายืนต่อหน้าสภาฐานันดรเพื่อต้องการเสียงที่ยุติธรรม เขาเป็นเด็กกำพร้าที่ได้รับทุนการศึกษาและเป็นตัวแทนของสภาฐานันดรที่ 3 ที่มาจากประชาชนที่เลือกเขาเข้ามาทำหน้าที่ จุดเด่นของโรเบสปิแอร์คือเขามีคำพูดที่คารม คมคาย เป็นอย่างมาก มีบุคลิกที่สงบเสงี่ยม เรียบร้อย ทั้ง ทรงผม และวาจา
การประชุมสภาฐานันดรในครั้งนี้โรเบสปิแอร์และพรรคพวกของเค้าเรียกร้องให้ พระ และขุนนาง ต้องจ่ายภาษี ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ทรงไม่เห็นด้วยและทรงเห็นว่ากำลังได้รับการคุกคามรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจากลัทธิหัวรุนแรงของฐานันดรที่ 3

การประชุมสภาฐานันดรที่โรเบสปิแอร์เสนอว่าพระและขุนนางต้องจ่ายภาษี

20 มิถุนายน 1789 สภาฐานันดรที่ 3 พยามจะเข้าร่วมประชุมแต่พวกเค้าพบว่าพวกเค้ากำลังจะถูกปิดปากเพราะประตูของสภาถูกล็อคทำให้สภาฐานันดรที่ 3 ต้องย้ายไปประชุมกันที่สนามแฮนด์บอลที่อยู่ข้างๆ พวกเค้าร่วมประชุมกันและปฎิญาณว่าจะไม่หยุดการประชุมจนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประกาศตัวเองว่าเป็นคณะสมัชชาแห่งชาติชุดใหม่ที่มาจากเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง

การประชุมที่สนามแฮนด์บอลและประกาศตั้งสมัชชาแห่งชาติ
27 มิถุนายน 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้เสนอให้สมาชิกฐานันดรอื่นๆเข้าร่วมประชุมกับสมาชิกสภาฐานันดรที่ 3 ซึ่งในขณะนั้นเริ่มมีข่าวลือว่าพระเจ้าหลุยส์ได้ปลดรัฐมนตรีคลังช้าค เนกเกอร และได้สั่งกองทหารให้เตรียมกำลังไว้ 30,000 นายที่แวร์ซายน์และกรุงปารีส

กรกฎาคม 1789 พระเจ้าหลุยส์ได้สั่งทหาร 3 หมื่นนายที่อยู่ในกรุงปารีสให้สังหารสมาชิกสภาฐานันดรที่ 3 และเริ่มเกิดการจลาจลขึ้นทั่วกรุงปารีสทำให้ประชาชนเริ่มจัดตั้งกองกำลังป้องกันตนเองโดยเรียกว่ากองกำลัง คอมมูน ปารีส ( Paris Commune )

คอมมูน ปารีส ( Paris Commune )
การปฎิวัติได้เริ่มกระจายไปทั่วกรุงปารีสหลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งกองกำลังแห่งชาติขึ้น ( National Guards ) และมี มาร์กีส เดอ ลา ฟาแยตต์ ( Marquis De Lafayette ) เป็นผู้บังคับการ

มาร์กีส เดอ ลา ฟาแยตต์ ( Marquis De Lafayette )
ผู้ก่อจลาจลในกรุงปารีสสามารถขโมยปืนไฟของรัฐบาลไปได้ 28,000 กระบอกแต่สิ่งเดียวที่ไม่มีคือดินปืนและพวกเค้ารู้ว่าจะสามารหามันได้จากที่ไหนซึ่งกลางกรุงปารีสมีป้อมปราการซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์การปกครองที่กดขี่ประชาชนของชนชั้นศักดินาและระบอบขุนนางนั่นก็คือเรือนจำบาสเตีย ( Bastille )

เรือนจำแห่งนี้เป็นสถานที่เก็บดินปืนของเมืองและเป็นตำนานในการเป็นสถานที่ที่ใช้ทรมานและประหารผู้ที่ไม่ยอมรับสารภาพ บาสเตียเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของกษัตริย์ฝรั่งเศสที่มช้อำนาจเกินขอบเขตของตนเองซึ่งสร้างความกลัวให้กับชาวฝรั่งเศสในยุคนั้นมาก

14 กรกฎาคม 1789 ประชาชนชาวฝรั่งเศสเริ่มออกมาแสดงตนพร้อมธงผืนเล็กๆที่มี 3 สี จากการจลาจลของฝูงชนที่กำลังฮึกเหิมได้มีเสียงตะโกนขึ้นว่า "ไปที่คุกบาสเตีย" หลังจากนั้นประชาชนผู้โกรธแค้นทั้งชายและหญิงที่ถิออาวุธ ได้บุกตะลุยเข้าไปในคุกบาสเตียและจับผู้คุมเรือนจำลากออกมาตามถนนและทิ่มแทงร่างกายของเค้าและลากเค้าไปเรื่อย และเป็นเหมือนประเพณีปฎิบัติของการปฎิวัติ ผู้ที่ถูกจับได้จะต้องโดนตัดศรีษะเสียบประจาน

ภาพการบุกคุกบาสเตีย
ที่พระราชวังแวร์ซายน์หลังจากพระเจ้าหลุยที่ 16 เสด็จกลับจากการล่าสัตว์และทรงลงบันทึกไว้ว่า การล่าครั้งนี้ไม่ได้อะไรเลย หลังจากนั้นมหาดเล็กคนหนึ่งได้เข้ามาบังคบทูลถวายรายงานเรื่องการจลาจลและการล่มสลายของคุกบาสเตีย พระเจ้าหลุยส์ตรัสถามมหาดเล็กคนนั้นว่า "เรามีกฎบใช่มั้ย ?" มหาดเล็กคนนั้นกราบังคมทูลกลับไปว่า "ไม่ใช่พ่ะยะค่ะ มันคือการปฎิวัติ"

ภายหลังการปฎิวัติ มีการประกาศสิทธิมนุษยชนของชาวฝรั่งเศสในวันที่ 4 สิงหาคม 1789 ซึ่งรับรองโดยสภาแห่งชาติ




ยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัว ( Reign Of Terror )
เป็นอดีตประธานคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ ที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 18 หลังจากการโค่นล้มพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ของฝรั่งเศสซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้

ต่อมาก็ได้เข้าเป็นผู้นำของกลุ่มฌากอแบ็งที่กล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี อองตัวเนตว่า ได้ทรงกระทำการในสิ่งที่เป็นการขายชาติ ทั้งยังเรียกร้องให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย

ภาพการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส 21 มกราคม 1973
ภาพการประหารชีวิตพระนางมารี อองตัวเนต 16 ตุลาคม 1793


ดังนั้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1793 โรเบสปีแอร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง และช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพันๆ ตั้งแต่ความผิดเล็กๆ น้อยๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยโรเบสปีแอร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยติน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่นๆ เรียกช่วงเวลาที่เค้าอยู่ในตำแหน่งว่า ยุคแห่งความหวาดกลัว

เครื่องประหารกิโยติน
ดังนั้นในปี ค.ศ. 1794 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจและจับกุมโรเบสปีแอร์ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินท่ามกลางผู้คนมากมายที่รุมล้อมใน วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794