วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติการยุบสภาในประเทศไทย

การยุบสภาผู้แทนราษฎร   ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนั้น ได้มีรัฐบาลบางสมัยใช้อำนาจดังกล่าว  มาแล้วรวม  11  ครั้งคือ

1. สมัยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา   เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยุบสภาผู้แทนราษฏรเมื่อวันที่   11  กันยายน พ.ศ.  2480  เนื่องจากสภาผู้แทนราษฏรเสนอให้คณะรัฐบาลร่างพระราชบัญญัติงบประมาณที่มีรายรับ  และรายจ่ายโดยละเอียด ซึ่งรัฐบาลค้าน แต่สภามีมติเห็นด้วยคะแนน  45  ต่อ 31  รัฐบาลจึงยื่นใบลาออกต่อคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ยอมรับใบลาออก เนื่องจากสถานการณ์ขณะนั้นล่อแหลมต่อภาวะสงครามจึงมี พระราชกฤษฎีกายุบสภา
2. สมัย ม.ร.ว เสนีย์   ปราโมช  เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 15ุลาคม พ.ศ. 2488  เนื่องจากเห็นว่ามีการยืดอายุสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างสงครามมานานแล้วสมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นใหม่
3. สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช    เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 12 มกราคม  พ. ศ.2519   เนื่องจากมีเหตุวุ่นวาย และการแย่งชิงตำแหน่ง และผลประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกันมาก รวมทั้งพยายามบีบคั้นรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา
4. สมัยพล.อ.เปรม  ติณสูลานนท์   เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่ 45 ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่  19 มีนาคม พ.ศ. 2526 เนื่องจากได้มีการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประชาชนยังมีความคิดเห็นแตกต่างก้ำกึ่งกันอยู่ หากให้มีการเลือกตั้งตามวิธีใหม่  อาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองได้ จึงให้ยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามวิธีการเดิมไปก่อน 
5. สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์   เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่  46 ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรมี มติไม่ อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก    พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529   และจากการพิเคราะห์สาเหตุแห่งการไม่ยอมอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวรัฐบาลเห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรมิได้คำนึงถึง  เหตุผลในการตราพระราชกำหนด หากสืบเนื่องมาจากความแตกแยกในทางการเมืองของพรรคการเมืองบางพรรคและ   หากให้สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อไป ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินและกระทบถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ 
และจะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่
6. สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนทเป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล ชุดที่  47  ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 เมษายน  พ.ศ. 2531 เนื่องจากพรรคการเมืองต่างๆ  หลายพรรคไม่สามารถจะดำเนินการในระบบพรรคการเมืองได้อย่างมีเอกภาพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคการเมืองยังไม่ยอมรับรู้ความคิดเห็นหรือมติของสมาชิกฝ่ายข้างมากในพรรคของตนอันเป็นการขัดต่อ วิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนา ประเทศเป็นอย่างมาก จึงให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่
7. สมัยนายอานันท์  ปันยารชุน   เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่ 52 ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2535  เนื่องจากประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤตทางการเมืองต้องการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปให้ประชาชน เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้สภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่
8.สมัยนายชวน  หลีกภัย  เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่   53 ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม  พ.ศ. 2538  เนื่องจากพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลแตกแยกจนไม่เป็นเอกภาพเป็นอุปสรรคต่อการบริหารบ้านเมือง และการพัฒนาประเทศ รวมทั้งปัญหา สปก.4-01 เกี่ยวกับที่ดิน
9. สมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่  54 ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งแตกแยกระหว่างพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน และนายกรัฐมนตรี ถูกกดดันให้ลาออก 
10. สมัย พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลคณะรัฐมนตรีคณะที่ 55 (11 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549) ได้เกิดการชุมนุมสาธารณะตั้งข้อเรียกร้องในทางการเมืองขึ้น ซึ่งแม้ระยะแรกจะอยู่ในกรอบของกฎหมาย แต่เมื่อนานวันเข้า การชุมนุมเรียกร้องได้ขยายตัวไปในทางที่กว้างขวางและอาจรุนแรงขึ้น รวมทั้งส่อเค้าว่าจะมีการเผชิญหน้า จนอาจปะทะกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและอาจมีการสอดแทรก ฉวยโอกาสจากผู้ที่ประสงค์จะเห็นความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง จุดชนวนให้เกิดความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน จนลุกลามถึงขั้นก่อการจลาจลวุ่นวาย สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ 

ครั้นจะใช้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองเข้าควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด หรือแม้แต่รัฐบาลได้พยายามดำเนินการตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ ด้วยการขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติในที่ประชุมรัฐสภาแล้ว ก็ยังไม่อาจแก้ไขปัญหาและความคิดเห็นพื้นฐานที่แตกต่างกัน ทั้งระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องกับรัฐบาล และระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องกับกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วย และประสงค์จะเคลื่อนไหวบ้าง จนอาจเกิดการปะทะกันได้ สภาพเช่นว่านี้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐสภา และความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยเฉพาะในขณะนี้ ซึ่งควรจะสร้างความสามัคคีปรองดอง 

การดูแลรักษาสภาพของบ้านเมืองที่สงบร่มเย็นน่าอยู่อาศัย น่าลงทุน และการเผยแพร่ความวิจิตรอลังการ ตลอดจนความดีงามตามแบบฉบับของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ เมื่อปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นความคิดเห็นในสังคมที่หลากหลาย และยังคงแตกต่างกันจนกลายเป็นคามขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงเช่นนี้ ครั้นจะดำเนินการเพื่อตรวจสอบความประสงค์อันแท้จริงของประชาชน โดยประการอื่น เพื่อให้ทุกฝ่ายหยั่งทราบ แล้วยอมรับให้เป็นไปตามกลไกในระบอบประชาธิปไตยก็ทำได้ยาก 

ทางออกในระบอบประชาธิปไตยที่เคยปฏิบัติมาในนานาประเทศ และแม้แต่ในประเทศไทย คือการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมือง กลับไปสู่ประชาชนด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปขึ้นใหม่ตามบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป

11. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 และคณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 พฤษภาคม 54 สาเหตุวิกฤติทางการเมือง