วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ โรเบสปีแอร์

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ โรแบร์ปีแอร์
มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ โรเบสปีแอร์ ( Maximilien François Marie Isidore de Robespierre ) 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1758 - 28 กรกฎาคม ค.ศ.1794

เป็นผู้นำขบวนการปฏิวัติฝรั่งเศษในการโค่นล้มระบอบกษัตริย์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในฝรั่งเศส แต่สุดท้ายเค้าได้ครองอำนาจและนำพาฝรั่งเศสเข้าสู่ยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัว ( Reign Of Terror ) ค.ศ. 1793 - ค.ศ. 1794 

มักซีมีเลียง โรเบสปีแอร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1758 ที่เมืองอารัส แคว้นนอร์-ปา-เดอ-กาแล ประเทศฝรั่งเศส เค้าได้เป็นนิติกรประจำเมืองบ้านเกิดเพราะความสามารถและความรอบรู้

โรเบสปิแอร์เป็นนักศึกษากฎหมายหนุ่มอนาคตไกล โรเบสปิแอร์ได้มีโอกาสพบกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดยขณะนั้น โรเบสปิแอร์เป็นผู้นำถวายงานเลี้ยงต้อนรับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อองตัวเนต ที่เสด็จมาสู่นครปารีสและได้มาที่วิทยาลัยที่เขาศึกษาอยู่ โรเบสปิแอร์ได้กราบทูลถวายการต้อนรับเป็นภาษาลาติน ต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แต่ในขณะนั้นไม่ได้รับความสนใจจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เท่าไหร่นักในขณะที่เขากล่าวคำสรรเสริญเพื่อต้อนรับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โรเบสปิแอร์จึงได้พบกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ตั้งแต่เขายังเป็นวัยรุ่น

ภายหลังจากความอดอยากของประชาชนในประเทศฝรั่งเศส มีฎีกาฉบับนึงที่โจมตีความฟุ่มเฟือยของราชสำนักในเวลานั้นขณะที่ประชาชนต้องเผชิญกับยุคข้าวยาก หมากแพง และการขาดขนมปังซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวฝรั่งเศส โดยข้อความส่วนนึงของฎีกาฉบับนี้มีข้อความบางส่วนว่า "รู้หรือไม่ว่าทำไมจึงมีประชาชนอดอยากมากมายถึงเพียงนี้ ก็เพราะความฟุ่มเฟือยของท่านในเวลาเพียง 1 วัน ก็สามารถเลี้ยงดูประชาชนได้ถึง 1,000 พันคน" และคนที่อยู่เบื้องหลังการเขียนฎีกาฉบับนี้ก็คือ โรเบสปิแอร์นั่นเอง

4 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 โรเบสปิแอร์ในฐานะทนายความและนักการเมืองหนุ่มผู้มีความสามารถได้มาถึงแวร์ไซน์ เพื่อร่วมประชุมสภาฐานันดรของฝรั่งเศส

การเปิดประชุมรัฐสภา เมื่อรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจโดยเก็บภาษีอากรที่ดินจาก พลเมืองทุกฐานันดร จึงต้องเรียกประชุมรัฐสภา ที่เรียกว่า “สภาฐานันดรแห่งชาติ” ( Estates General ) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของฐานันดรทั้ง 3 ฐานันดร ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1789 ซึ่งการประชุมนี้นั้นเป็นการเปิดประชุมครั้งแรกภายในเวลากว่า 175 ปีที่ผ่านมา

“สภาฐานันดรแห่งชาติ” ( Estates General )

สภาฐานันดรของฝรั่งเศสในสมัยศตวรรษที่ 18 นั้นแบ่งออกเป็น 3 ฐานันดรประกอบไปด้วย
ฐานันดรแรก พระ
ฐานันดรที่สอง ขุนนาง
และฐานันดรสุดท้ายคือประชาชน

ซึ่งสภาฐานันดรของ 2 กลุ่มแรกมีเพียงร้อยละ 3 ของประชากรมั้งประเทศ ส่วนฐานันดรสุดท้ายนั้นคิดเป็นร้อยละ 97 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งทำให้การประชุมแต่ละครั้งสร้างความไม่พอใจให้สภาฐานันดรที่ 3 เพราะเป็นฐานันดรที่มีประชากรมากที่สุดแต่ต้องแพ้ให้กับสภา 2 ฐานันดรแรก ทำให้พวกเค้าเห็นว่าไม่ยุติธรรม

โรเบสปิแอร์มายืนต่อหน้าสภาฐานันดรเพื่อต้องการเสียงที่ยุติธรรม เขาเป็นเด็กกำพร้าที่ได้รับทุนการศึกษาและเป็นตัวแทนของสภาฐานันดรที่ 3 ที่มาจากประชาชนที่เลือกเขาเข้ามาทำหน้าที่ จุดเด่นของโรเบสปิแอร์คือเขามีคำพูดที่คารม คมคาย เป็นอย่างมาก มีบุคลิกที่สงบเสงี่ยม เรียบร้อย ทั้ง ทรงผม และวาจา
การประชุมสภาฐานันดรในครั้งนี้โรเบสปิแอร์และพรรคพวกของเค้าเรียกร้องให้ พระ และขุนนาง ต้องจ่ายภาษี ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ทรงไม่เห็นด้วยและทรงเห็นว่ากำลังได้รับการคุกคามรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจากลัทธิหัวรุนแรงของฐานันดรที่ 3

การประชุมสภาฐานันดรที่โรเบสปิแอร์เสนอว่าพระและขุนนางต้องจ่ายภาษี

20 มิถุนายน 1789 สภาฐานันดรที่ 3 พยามจะเข้าร่วมประชุมแต่พวกเค้าพบว่าพวกเค้ากำลังจะถูกปิดปากเพราะประตูของสภาถูกล็อคทำให้สภาฐานันดรที่ 3 ต้องย้ายไปประชุมกันที่สนามแฮนด์บอลที่อยู่ข้างๆ พวกเค้าร่วมประชุมกันและปฎิญาณว่าจะไม่หยุดการประชุมจนกว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประกาศตัวเองว่าเป็นคณะสมัชชาแห่งชาติชุดใหม่ที่มาจากเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง

การประชุมที่สนามแฮนด์บอลและประกาศตั้งสมัชชาแห่งชาติ
27 มิถุนายน 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้เสนอให้สมาชิกฐานันดรอื่นๆเข้าร่วมประชุมกับสมาชิกสภาฐานันดรที่ 3 ซึ่งในขณะนั้นเริ่มมีข่าวลือว่าพระเจ้าหลุยส์ได้ปลดรัฐมนตรีคลังช้าค เนกเกอร และได้สั่งกองทหารให้เตรียมกำลังไว้ 30,000 นายที่แวร์ซายน์และกรุงปารีส

กรกฎาคม 1789 พระเจ้าหลุยส์ได้สั่งทหาร 3 หมื่นนายที่อยู่ในกรุงปารีสให้สังหารสมาชิกสภาฐานันดรที่ 3 และเริ่มเกิดการจลาจลขึ้นทั่วกรุงปารีสทำให้ประชาชนเริ่มจัดตั้งกองกำลังป้องกันตนเองโดยเรียกว่ากองกำลัง คอมมูน ปารีส ( Paris Commune )

คอมมูน ปารีส ( Paris Commune )
การปฎิวัติได้เริ่มกระจายไปทั่วกรุงปารีสหลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งกองกำลังแห่งชาติขึ้น ( National Guards ) และมี มาร์กีส เดอ ลา ฟาแยตต์ ( Marquis De Lafayette ) เป็นผู้บังคับการ

มาร์กีส เดอ ลา ฟาแยตต์ ( Marquis De Lafayette )
ผู้ก่อจลาจลในกรุงปารีสสามารถขโมยปืนไฟของรัฐบาลไปได้ 28,000 กระบอกแต่สิ่งเดียวที่ไม่มีคือดินปืนและพวกเค้ารู้ว่าจะสามารหามันได้จากที่ไหนซึ่งกลางกรุงปารีสมีป้อมปราการซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์การปกครองที่กดขี่ประชาชนของชนชั้นศักดินาและระบอบขุนนางนั่นก็คือเรือนจำบาสเตีย ( Bastille )

เรือนจำแห่งนี้เป็นสถานที่เก็บดินปืนของเมืองและเป็นตำนานในการเป็นสถานที่ที่ใช้ทรมานและประหารผู้ที่ไม่ยอมรับสารภาพ บาสเตียเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของกษัตริย์ฝรั่งเศสที่มช้อำนาจเกินขอบเขตของตนเองซึ่งสร้างความกลัวให้กับชาวฝรั่งเศสในยุคนั้นมาก

14 กรกฎาคม 1789 ประชาชนชาวฝรั่งเศสเริ่มออกมาแสดงตนพร้อมธงผืนเล็กๆที่มี 3 สี จากการจลาจลของฝูงชนที่กำลังฮึกเหิมได้มีเสียงตะโกนขึ้นว่า "ไปที่คุกบาสเตีย" หลังจากนั้นประชาชนผู้โกรธแค้นทั้งชายและหญิงที่ถิออาวุธ ได้บุกตะลุยเข้าไปในคุกบาสเตียและจับผู้คุมเรือนจำลากออกมาตามถนนและทิ่มแทงร่างกายของเค้าและลากเค้าไปเรื่อย และเป็นเหมือนประเพณีปฎิบัติของการปฎิวัติ ผู้ที่ถูกจับได้จะต้องโดนตัดศรีษะเสียบประจาน

ภาพการบุกคุกบาสเตีย
ที่พระราชวังแวร์ซายน์หลังจากพระเจ้าหลุยที่ 16 เสด็จกลับจากการล่าสัตว์และทรงลงบันทึกไว้ว่า การล่าครั้งนี้ไม่ได้อะไรเลย หลังจากนั้นมหาดเล็กคนหนึ่งได้เข้ามาบังคบทูลถวายรายงานเรื่องการจลาจลและการล่มสลายของคุกบาสเตีย พระเจ้าหลุยส์ตรัสถามมหาดเล็กคนนั้นว่า "เรามีกฎบใช่มั้ย ?" มหาดเล็กคนนั้นกราบังคมทูลกลับไปว่า "ไม่ใช่พ่ะยะค่ะ มันคือการปฎิวัติ"

ภายหลังการปฎิวัติ มีการประกาศสิทธิมนุษยชนของชาวฝรั่งเศสในวันที่ 4 สิงหาคม 1789 ซึ่งรับรองโดยสภาแห่งชาติ




ยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัว ( Reign Of Terror )
เป็นอดีตประธานคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ ที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 18 หลังจากการโค่นล้มพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ของฝรั่งเศสซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้

ต่อมาก็ได้เข้าเป็นผู้นำของกลุ่มฌากอแบ็งที่กล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี อองตัวเนตว่า ได้ทรงกระทำการในสิ่งที่เป็นการขายชาติ ทั้งยังเรียกร้องให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย

ภาพการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส 21 มกราคม 1973
ภาพการประหารชีวิตพระนางมารี อองตัวเนต 16 ตุลาคม 1793


ดังนั้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1793 โรเบสปีแอร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง และช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพันๆ ตั้งแต่ความผิดเล็กๆ น้อยๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยโรเบสปีแอร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยติน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่นๆ เรียกช่วงเวลาที่เค้าอยู่ในตำแหน่งว่า ยุคแห่งความหวาดกลัว

เครื่องประหารกิโยติน
ดังนั้นในปี ค.ศ. 1794 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจและจับกุมโรเบสปีแอร์ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินท่ามกลางผู้คนมากมายที่รุมล้อมใน วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ยึดระบบของกฎหมายตามรูปแบบของระบบกฎหมายแบบโรมาโน-เยอรมันนิค (Romano Germanic) หรือที่รู้จักกันนามของ Civil Law กฎหมายรูปแบบนี้ คือ มีลักษณะพิเศษ คือมีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร 

ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
เดิมทีประเทศฝรั่งเศสปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสเริ่มต้นจากที่ฝรั่งเศสทำสงครามกับอังกฤษ ในปี (ค.ศ 1396 – 1454) หรือที่เรียกว่า สงครามร้อยปี ( Hundred Years Wars)

สงครามร้อยปี ( Hundred Years Wars)
สงครามร้อยปี ( Hundred Years Wars) ทำให้ดินแดนฝรั่งเศสที่เคยเป็นของอังกฤษกลับมาเป็นของฝรั่งเศสอย่างแท้จริง ผลของสงครามร้อยปีทำให้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมีมากขึ้น ขุนนางฝรั่งเศสจึงมอบความไว้วางใจในด้านต่างๆ เช่น การเก็บภาษี กษัตริย์ฝรั่งเศสไม่ต้องขออนุมัติจากสภาฐานันดร (Estate General) ไม่มีการเรียกร้องให้กษัตริย์เปิดการประชุมสภานับเป็นเวลากว่าร้อยปี

สภาวะการณ์เช่นนี้ทำให้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เพิ่มสูงยิ่งขึ้น จนสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่ง ราชวงศ์บูรบง สถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศสก้าวเข้าสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชอย่างแท้จริง โดยคำกล่าวของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ว่า “I am the state” สภาพสมบูรณาญาสิทธิราชในฝรั่งเศสส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในยุคต่อมาอย่างรุนแรง เมื่อถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เกิดการปฏิวัติใหญ่ในเดือน สิงหาคม 1789 ภายหลังการปฏิวิติใหญ่ประเทศฝรั่งเศสได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมา 

การปฏิวัติใหญ่ในเดือน สิงหาคม 1789
ฝรั่งเศสได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งสิทธิเสรีภาพ หลังจากนั้นได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง และในการเปลี่ยนแปลงการปกครองแต่ละครั้งก็จะมีรัฐธรรมนูญใหม่เกิดขึ้น จนกระทั่งปัจจุบัน รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ คือ รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณฝรั่งเศส ปี ค.ศ 1958 โดยจัดทำขึ้นในสมัย ประธานาธิบดี ชาล์ล เดอ โกล 

นายพล ชาร์ลส์ เดอโกลล์ (General Charles De Gaulle)
เนื้อหาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส คือ การบัญญัติเกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจ และการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งสามารถกล่าวโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้

โครงสร้างอำนาจและการปกครองในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
ในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสมีบทบัญญัติทั้งสิ้น 89 มาตรา โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 17 หมวด ได้มีการกล่าวถึงโครงสร้างการปกครองของประเทศฝรั่งเศสไว้ดังต่อไปนี้

1. รูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครอง
ประเทศฝรั่งเศสปกครองในรูปแบบของสาธารณรัฐ มีลักษณะเป็นรัฐเดี่ยวไม่สามารถแบ่งแยกได้ มีภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาประจำชาติ มีเพลง ลา มาร์ซัยแยส เป็นเพลงประจำชาติ มีธงสามสี คือ สีน้ำเงิน สีขาวและสีแดงเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ คติของรัฐ คือ เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังมีหลักการของชาติ ซึ่งได้แก่ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน 

ในส่วนของรูปแบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศสนั้น มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี กล่าวคือ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขหรือผู้นำของสาธารณรัฐ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี โดยการปกครองของฝรั่งเศสนั้นเน้นตามคติของชาติ คือ เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ เป็นหลัก สาธารณรัฐรับรองความเสมอภาคของประชาชนตามกฎหมายโดยไม่แบ่งแยกแหล่งกำเนิด เชื้อชาติ และศาสนา และเคารพในความเชื่อของทุกนิกาย โดยหลักการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ได้ยึดหลักที่ว่าด้วยอำนาจอธิปไตย คือ อำำนาจอธิปไตยของชาติเป็นของประชาชน ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของ ซีเอเยส ซึ่งกล่าวว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ และทฤษฎีของ ฌอง ฌาคส์ รุสโซ ที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

2. สถาบันการเมืองที่ใช้อำนาจอธิปไตย
สถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 สถาบัน คือ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร และสถาบันตุลาการ ซึ่งรายละเอียดแต่ละสถาบันมีดังต่อไปนี้

2.1สถาบันนิติบัญญัติ
สถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภาของฝรั่งเศส ตามรัฐธรรมนูญของประเทศได้บัญญัติไว้ว่า รัฐสภาของฝรั่งเศสเป็นแบบสภาคู่ ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฏรซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และวุฒิสภา ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กรปกครองท้องถิ่นในสาธารณรัฐได้มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม ทั้งนี้ประชาชนชาวฝรั่งเศสที่อยู่นอกราชอาณาจักรต้องมีผู้แทนในวุฒิสภาด้วย

ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร นั้นประกอบด้วยสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 570 คนและดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ส่วนวุฒิสภามีสมาชิกทั้งสิ้น 304 คน โดยดำรงตำแหน่งได้คราวละ 9 ปี

2.2สถาบันบริหาร
สถาบันบริหารหรือรัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญกำหนดว่า อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลเป็นการแบ่งกันระหว่างประธานาธิบดีในฐานะผู้นำประเทศของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล เรียกว่า ทวิภาคของฝ่ายบริหารซึ่งหมายถึงการที่ฝ่ายบริหารมีผู้มีอำนาจสั่งการ 2 คนด้วยกันและทั้ง 2 คนต้องบริหารประเทศด้วยกันภายใต้กฎเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

ประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีแห่งรัฐซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 7 ปี

หน้าที่ของประธานาธิบดี
1. ดูแลให้มีการเคารพรัฐธรรมนูญและดูแลการดำเนินการสถาบันการเมืองให้เป็นไปโดยปกติและต่อเนื่อง รวมถึงความเป็นอิสระของชาติ บูรณภาพแห่งแผ่นดิน และการเคารพสนธิสัญญาต่างๆ

2.เป็นประธานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

3.เป็นผู้ประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาแล้ว และสามารถขอให้รัฐสภาพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ โดยที่รัฐสภาจะไม่สามารถปฎิเสธคำขอของประธานาธิบดีได้

4.เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรวมถึงการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง นอกจากนี้ยังเป็นผู้แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ได้แก่สภาแห่งรัฐ ผู้ที่ได้รับอิสริยาภรณ์ขั้นสูงสุด เอกอัครราชทูต ผู้แทนของรัฐ ผู้พิพากษาศาลสูงสุด ผู้ว่าการจังหวัด นายทหารระดับนายพล ฯลฯ

5.เป็นผู้กำหนดให้มีการออกเสียงแสดงประชามติต่อร่างกฏหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบสถาบันการเมืองของรัฐ การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือบริการสาธารณะต่างๆ

6.ประกาศให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรหลังจากปรึกษากับนายกรัฐมนตรีและสภาทั้ง 2 แล้ว

7.เป็นผู้ลงนามในรัฐกำหนดและรัฐกฤษฎีกาที่ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

8.เป็นผู้แต่งตั้งเอกอัครรัฐทูตและผู้แทนพิเศษ และรับสารแต่งตั้งเอกอัครรัฐทูต และผู้แทนพิเศษของรัฐอื่นที่มาประจำที่สาธารณรัฐฝรั่งเศส

9.มีอำนาจในการดำเนินมาตรการฉุกเฉินในเรื่องเกี่ยวกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่คุกคามอย่างร้ายแรง

ขั้นตอนการเลือกตั้งประธานาธิบดี
1.ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อสาธารณชน

2.เลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรก

3.ประกาศผลการเลือกตั้งถ้าผู้สมัครได้รับคะแนนเสียงเด็ดขาด สามารถเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีได้ทันที ถ้าได้รับคะแนนเสียงไม่เด็ดขาดจะต้องมีการจัดการเลือกตั้งรอบที่ 2 ( เฉพาะ 2 คนที่ได้รับคะแนนสูงสุดในรอบแรก ) โดยปกติแล้วการเลือกตั้งประธานาธิบดีจะจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีคนเก่า 20-35 วัน

รัฐบาล
ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสฉบับปัจจุบัน รัฐบาลซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีทรงไว้ซึ่งอำนาจบังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐและกองทัพ เป็นผู้กำหนดแนวทางการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของชาติ รับผิดชอบในการป้องกันชาติ การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายรวมถึงการใช้อำนาจในการตรากฎหมายของฝ่ายบริหารและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนและข้าราชการทหาร

ในกรณีจำเป็น นายกรัฐมนตรีสามารถปฎิบัติหน้าที่บางอย่างแทนประธานาธิบดีได้ เช่น การเป็นประธานในที่ประชุมของสภากลาโหม และคณะกรรมการสูงสุดในการป้องกันประเทศ หรือการเป็นประธานที่ระชุมคณะรัฐมนตรี และรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสได้ระบุว่าผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาล และเป็นสมาชิกรัฐสภาด้วยจะต้องลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภา

สถาบันตุลาการ
สถาบันตุลาการนั้นเป็นอิสระจาก 2 องค์กรแรก โดยรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสได้กำหนดไว้ว่า คณะกรรมการตุลาการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1) ส่วนที่มีอำนาจในเรื่องผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดี โดยคณะกรรมการในส่วนนี้มีหน้าที่ เสนอการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา ประธานศาลอุธรณ์ และประธานศาลชั้นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดี รวมถึงการเป็นคณะกรรมการพิจารณาความผิดทางวินัยของผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี โดยให้ประธานศาลฎีกาเป็นคณะกรรมการ

2) ส่วนที่มีอำนาจในเรื่องผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พนักงานอัยการ มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พนักงานอัยการ ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความผิดทางวินัยของผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พนักงานอัยการ โดยให้ประธานผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พนักงานอัยการในศาลฎีกาทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ

คณะกรรมการตุลาการแต่ละชุดจะมี ประธานาธิบดีแห่งรัฐเป็นคณะกรรมการตุลาการ และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธานคณะกรรมการตุลาการ นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการตุลาการอีก 12 คน

3. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่ใช้อำนาจนั้นที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันนิติบัญญัติหรือรัฐสภา กับฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลเนื่องจากในการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินนั้นองค์กรทั้ง 2 ต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างใกล้ชิด ส่วนสถาบันตุลาการนั้นมีการบริงานค่อนข้างเป็นอิสระเพื่อความบริสุทธิ์ยุติธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารตามรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสมีดังต่อไปนี้

ความสัมพันธ์ในด้านอำนาจหน้าที่
- รัฐสภาเป็นผู้ตรารัฐบัญญัติหรือกฎหมายต่างๆ

- รัฐสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม

- การประกาศกฎอัยการศึกจะต้องกระทำโดยรัฐกฤษฎีกาที่ตราโดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและการขยายเวลาการใช้กฎอัยการศึกเกินกว่า 12 วันจะต้องได้รับการยินยอมจากรัฐสภา

- เรื่องใดที่ไม่อยู่ในขอบเขตของการตรารัฐบัญญัติ ให้ถือว่าอยู่ในอำนาจการตรากฎหมายของฝ่ายบริหาร

ความสัมพันธ์ในการดำเนินงาน
- รัฐบาลสามารถขออนุญาติรัฐสภาในการตรารัฐกำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนดในเรื่องซึ่งโดยปกติแล้วเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจการตรารัฐบัญญัติของรัฐสภาได้

- นายกรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภามีสิทธิเสนอร่างรัฐบัญญัติ โดยผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีภายหลังจากที่ได้ส่งสภาแห่งรัฐตรวจพิจารณาแล้วจะต้องนำเสนอต่อสภาใดสภาหนึ่ง เช่น ร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับงบประมาณจะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน

- ร่างกฎหมายที่เสนอใหม่หรือร่างแก้ไขกฎหมายที่สมาชิกสภาเสนอจะรับพิจารณาไม่ได้ หากผลของกฎหมายนั้นเป็นผลร้ายทำให้รายได้ของรัฐลดลงหรือมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายของรัฐเพิ่มขึ้น

- ในการพิจารณาร่างกฎหมาย ถ้าร่างกฎหมายนั้นไม่ได้อยู่ในขอบเขตอำนาจการตรารัฐบัญญัติ รัฐบาลอาจเสนอไม่ให้รัฐสภารับร่างดังกล่าวไว้พิจารณาได้

- การพิจารณาร่างกฎหมายที่รัฐบาลเสนอ ให้สภาที่รับร่างไว้ทำการพิจารณาจากร่างกฎหมายที่รัฐบาลเสนอ และให้สภาที่ได้รับร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจากอีกสภาหนึ่งมาแล้วพิจารณาร่างกฎหมายตามร่างกฎหมายที่ได้รับมา

- เมื่อรัฐบาลหรือสภารับร่างกฎหมายนั้นไว้พิจารณาร้องขอ ให้ส่งร่างกฎหมายที่รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาเสนอไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาต่อไป หากไม่มีการร้องขอ ให้ส่งร่างกฎหมายที่เสนอนั้นไปยังคณะกรรมาธิการสามัญซึ่งมีจำนวนไม่เกินสภาละ 6 คน เป็นผู้พิจารณา

- สมาชิกรัฐสภาและรัฐบาลมีสิทธิเสนอขอแปรญัตติ ภายหลังการเปิดอภิปรายรัฐบาลมีสิทธิคัดค้านมิให้มีการพิจารณาคำขอแปรญัตติหากมิให้ได้มีการเสนอคำขอแปรญัตตินั้นให้คณะกรรมาธิการพิจารณาก่อน

- ร่างกฎหมายที่รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาเสนอจะต้องได้รับการพิจารณาจากทั้ง 2 สภาต่อเนื่องกันไปเพื่อให้มีการอนุมัติร่างกฎหมายที่มีเนื้อความอย่างเดียวกัน

- กรณีที่ร่างกฎหมายที่รัฐบาลหรือรัฐสภาเสนอ สภาทั้ง 2 มีความเห็นไม่ตรงกัน จนเป็นเหตุให้ร่างกฎหมายไม่ได้รับความเห็นชอบ แต่รัฐบาลแจ้งว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน นายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วมที่มีสมาชิกแต่ละสภาจำนวนเท่ากัน เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเสนอบทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ และเสนอไปยังสภาทั้ง 2 อีกครั้ง

- สภาที่ได้รับร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาเสนอให้พิจารณา จะทำการพิจารณาและลงมติในร่างกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อพ้นระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่มีการเสนอร่างกฎหมายต่อสภาดังกล่าว ในกรณีที่สภาทั้ง 2 เห็นไม่ตรงกันจนเป็นเหตุให้ร่างกฎหมายไม่ได้รับความเห็นชอบ ให้นำบทบัญญัติในข้อที่แล้วมาบังคับใช้ ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะใช้อำนาจพิจารณายืนยันบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นองค์กรสุดท้าย มติยืนยันของสภาผู้แทนราษฎรจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

- การพิจารณาเกี่ยวกับร่างกฎหมายเกี่ยวกับงบประมาณ ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร ไม่เห็นชอบร่างกฎหมายในการพิจารณาครั้งแรกภายในกำหนดเวลา 40 วันนับจากวันที่ได้รับร่างกฎหมาย ให้รัฐบาลส่งร่างกฎหมายดังกล่าวให้วุฒิสภาเพื่อพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลา 15 วัน ในกรณีที่รัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมายดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 70 วันรัฐบาลอาจประกาศใช้ร่างกฎหมายนั้น โดยการตราเป็นรัฐกำหนดได้

- การจัดระเบียบวาระการประชุมของสภาทั้งสองจะต้องจัดลำดับโดยให้ความสำคัญต่อการพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐบาลตามลำดับที่รัฐบาลกำหนดก่อน และจากนั้นจึงเป็นการพิจารณาร่างกฎหมายที่สมาชิกรัฐสภาเสนอและได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล

- ภายหลังการที่แผนงานหรือนโยบายทางการเมืองในเรื่องหนึ่งเรื่องใดของรัฐบาลได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีอาจแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอผูกพันความรับผิดชอบได้

- กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบในญัตติไม่ไว้วางใจหรือกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบด้วยกับแผนงานหรือนโยบายทางการเมืองทั่วไปของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจะต้องยื่นใบลาออกของคณะรัฐมนตรีต่อประธานาธิบดี

4. องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ

4.1 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการจำนวน 9 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี และไม่อาจแต่งตั้งใหม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงตุลาการจำนวนหนึ่งในสามทุกๆ 3 ปี ประธานาธิบดีแห่งรัฐเป็นผู้แต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญ 3 คนและประธานวุฒิสภาแต่งตั้ง 3 คน นอกเหนือจากนี้แล้ว ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งรัฐทุกคนเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญตลอดชีพโดยตำแหน่งประธานคณะกรรมการได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญไม่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐสภาได้

อำนาจหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญ
- คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้ดูแลตรวจสอบความถูกต้องของการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐและวิธีการออกเสียงประชามติ เป็นผู้ตรวจสอบข้อร้องเรียนรวมถึงประกาศผลการเลือกตั้งและประกาศผลการออกเสียงแสดงประชามติ ในกรณีที่มีการคัดค้านผลการเลือกตั้ง ให้ตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาชี้ขาดเกี่ยวกับความถูกต้องของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

- เป็นผู้วินิจฉัยว่าร่างกฎหมายและร่างข้อบังคับดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการรัฐธรรมนูญย่อมเป็นที่สุด มีผลผูกพันสถาบันทางการเมืองแห่งรัฐตลอดจนองค์กร เจ้าหน้าที่ทางบริหารและในทางตุลาการ บทบัญญัติที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญย่อมไม่อาจประกาศใช้เป็นกฎหมายและไม่อาจมีผลได้

4.2 สภาเศรษฐกิจและสังคม

อำนาจหน้าที่ของสภาเศรษฐกิจและสังคม
- ให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐบัญญัติ ร่างรัฐกำหนดหรือร่างกฤษฏีกา รวมทั้งร่างกฎหมายของสมาชิกรัฐสภา ในกรณีที่รัฐบาลร้องขอ

- ให้ความคิดเห็นกับรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ และสังคม แผนงานทุกแผนงานหรือร่างกฎหมายทุกฉบับที่มีลักษณะเกี่ยวกับการวางแผนทางเศรษฐกิจ และสังคมจะต้องนำเสนอสภาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขอความเห็น

4.3 ศาลอาญาชั้นสูง
ศาลอาญาชั้นสูงประกอบด้วยผู้พิพากษาที่เกิดจากสภาทั้งสองในที่ประชุมของแต่ละสภาจำนวนเท่าๆกัน โดยให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเลือกจากสมาชิกวุฒิสภา เพื่อประกอบเป็นศาลอาญาชั้นสูง และให้ผู้พิพากษาศาลอาญาชั้นสูงเอกประธานศาลอาญาชั้นสูงจากผู้พิพากษาด้วยกัน

อำนาจหน้าที่ของศาลอาญาชั้นสูง
ศาลอาญาชั้นสูงมีหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาด การกระทำของประธานาธิบดีแห่งรัฐในกรณีทรยศต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง ประธานาธิบดีจะถูกกล่าวหาว่ากระทำการดังกล่าวได้ก็แต่โดยมติของสภาทั้งสองที่ได้ออกเสียงลงคะแนนอย่างเปิดเผยและได้รับความเห็นชอบในมติดังกล่าว โดยเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของแต่ละสภา

5. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองท้องถิ่นของสาธารณรัฐ ได้แก่ เทศบาล จังหวัด และดินแดนโพ้นทะเล ในจังหวัดและดินแดนต่างๆให้มีผู้แทนของรัฐบาลทำหน้าที่ดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ กำกับดูแลการบริหารงานและดูแลให้มีการเคารพต่อกฎหมาย

ลักษณะขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจที่จะบริหารงานของตนเองได้อย่างอิสระ
2. การวางระบบกฎหมายและการจัดระเบียบการปกครองจังหวัดโพ้นทะเลอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความจำเป็นเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแห่งท้องถิ่น
3. ดินแดนโพ้นทะเลของสาธารณรัฐจะมีการจัดองค์กรบริหารเป็นพิเศษโดยคำนึงถึงผลประโยชน์เฉพาะของดินแดนโดยสอดคล้องกับผลประโยชน์ทั่วไปของสาธารณรัฐ

6. การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
สมาชิกในคณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดทางอาญา สำหรับการกระทำความผิดที่กระทำในตำแหน่งหน้าที่และปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอุกฤษหรือมัชฌิมโทษในเวลาที่กระทำการ ในกรณีดังกล่าวสมาชิกในคณะรัฐมนตรีจุถูกพิจารณาโดยศาลอาญาแห่งสาธารณรัฐ หรือเรียกว่า ความรับผิดทางอาญาของสมาชิกในคณะรัฐมนตรี

โดยศาลอาญาแห่งสาธารณรัฐประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน 15 คน โดยที่ผู้พิพากษา 12 คนเลือกมาจากสมาชิกของสภาทั้งสองในที่ประชุมของแต่ละสภาจำนวนเท่าๆกัน ส่วนผู้พิพากษาอีก 3 คนมาจากผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิจารณาคดีในศาลฎีกา และให้ผู้พิพากษาจากศาลฎีกาคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานศาลอาญาแห่งรัฐ

ขั้นตอนการฟ้องร้องสมาชิกในคณะรัฐมนตรี
1. ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำที่เป็นอุกฤษโทษหรือมัชฌิมโทษของสมาชิกในคณะรัฐมนตรีที่กระทำในตำแหน่งหน้าที่ เข้ายื่นเรื่องต่อคณะกรรมการพิจารณาคำฟ้อง
2. คณะกรรมการพิจารณาคำฟ้องทำการพิจารณาคำฟ้องซึ่งอาจมีมติยกฟ้องหรือส่งฟ้อง
3. กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาคำฟ้องมีมติสั่งฟ้องนั้น คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะส่งคำฟ้องต่อไปยังประธานผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานอัยการในศาลฎีกาเพื่อฟ้องคดีต่อศาลอาญาแห่งรัฐต่อไป

7. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ลักษณะการทำสนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ

7.1 ประธานาธิบดีแห่งรัฐเป็นผู้เจรจาและให้สัตยาบันสนธิสัญญาทั้งหลายและจะต้องได้รับรายงานถึงผลการเจรจาเพื่อทำความตกลงระหว่างประเทศที่ไม่ต้องการมีการให้สัตยาบัน

7.2 สนธิสัญญาสงบศึก สนธิสัญญาทางการค้าหรือความตกลงเกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศ สนธิสัญญาหรือข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางด้านการเงินต่อรัฐ สนธิสัญญาหรือข้อตกลงที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย สนธิสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคล สนธิสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการยกให้ การแลกเปลี่ยน หรือการผนวกดินแดน จะต้องได้รับความเห็นชอบหรือลงสัตยาบัน ในรูปของรัฐบัญญัติ สนธิสัญญาเหล่านี้จะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบหรือลงสัตยาบันแล้ว

7.3 สาธารณรัฐอาจทำความตกลงกับรัฐยุโรปอื่นๆ ซึ่งเคารพต่อความผูกพันต่างๆในลักษณะเดียวกันกับสาธารณรัฐในเรื่องการลี้ภัย และการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตลอดทั้งเรื่องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เพื่อที่จะกำหนดขอบเขตอำนาจของแต่ละรัฐในการตรวจสอบให้ความเห็นชอบในการขอลี้ภัย

7.4 ในกรณีที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยตามคำร้องของประธานาธิบดีสาธารณรัฐหรือนายกรัฐมนตรีหรือประธานสภาใดสภาหนึ่งหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 60 คน และได้มีมติว่าความผูกพันระหว่างประเทศใดมีข้อความขัดต่อรัฐธรรมนูญ การอนุญาตให้มีการให้สัตยาบัน หรือให้ความเห็นชอบต่อความผูกพันระหว่างประเทศดังกล่าวจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว

7.5 สนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศที่ได้ให้สัตยาบันหรือให้ความเห็นชอบและได้ประกาศใช้บังคับโดยชอบแล้ว ย่อมมีฐานะในทางกฎหมายสูงกว่ารัฐบัญญัติ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่คู่สัญญาฝ่ายอื่นๆจะต้องบังคับใช้สนธิสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศนั้นเช่นเดียวกัน

8. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
สิทธิที่จะขอเสนอแก้ไขและเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นของประธานาธิบดีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี และของสมาชิกรัฐสภา ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาทั้งสองในเนื้อความอย่างเดียวกัน การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะมีผลบังคับใช้ได้ภายหลังจากได้รับความเห็นชอบจากประชาชน ด้วยวิธีการออกเสียงลงประชามติแล้ว

อย่างไรก็ตามร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่เสนอโดยประธานาธิบดีอาจไม่ต้องนำมาให้ประชาชนออกเสียงลงประชามติก็ได้ หากประธานาธิบดีตัดสินใจที่จะเสนอให้ที่ประชุมร่วมกันของสองสภาเป็นผู้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะได้รับความเห็นชอบให้ใช้บังคับ ได้ก็ต่อเมื่อได้คะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่า สามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภาที่ออกเสียงลงคะแนน ในกรณีที่มีการประชุมร่วมกันนี้ ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่สำนักงานของที่ประชุมร่วม

บทสรุปรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส
รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสในข้างตนสามารถสรุปภาพรวมโดยสังเขปเกี่ยวกับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้

- ประเทศฝรั่งเศสปกครองในระบบรัฐเดี่ยวในรูปแบบของสาธารณรัฐ

- ประเทศฝรั่งเศสใช้ระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ

- สถาบันทางการเมืองของฝรั่งเศสสามารถแบ่งแยกได้ออกเป็น 3 ส่วน คือ
1) สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มีหน้าที่หลักในการตรารัฐบัญญัติและกฎหมาย โดยรัฐสภาฝรั่งเศสเป็นระบบสภาคู่ คือมี 2 สภา ได้แก่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา

2) สถาบันบริหาร (รัฐบาล) มีหน้าที่หลักในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยระบบบริหารเป็นระบบบริหารที่มีลักษณะเป็นทวิภาค ซึ่งหมายถึง มีผู้มีอำนาจสั่งการสองคน คือ ประธานาธิบดีแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรี ซึ่งตำแหน่งประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงโดยประชาชน ส่วนนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินนั้นได้แก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

3) สถาบันตุลาการ (ศาล) เป็นหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระ มีหน้าที่หลักในการพิจารณาพิพากษาคดีความต่างๆ สถาบันที่ควบคุมดูแลการทำหน้าที่ของสถาบันตุลาการคือ คณะกรรมการตุลาการ โดยคณะกรรมการตุลาการ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาและผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่เป็นอัยการโดยคณะกรรมการตุลาการแต่ละชุดมีประธานาธิบดีเป็นประธานคณะกรรมการตุลาการทั้ง 2 ส่วน

- ตามรัฐธรรมนูญยังจัดให้มีองค์กรต่างๆนอกเหนือจาก 3 สถาบันหลัก เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( เทศบาล จังหวัด ดินแดนโพ้นทะเล ) หรือองค์กรอื่นๆตามรัฐธรรมนูญ ( คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ สภาเศรษฐกิจและสังคม ศาลอาญาชั้นสูง)

- รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของฝรั่งเศสมุ่งเน้นตามหลักให้เป็นไปตามคติของสาธารณรัฐ คือ เสรีภาพ เสมอภาพ และภราดรภาพ โดยมุ่งเน้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติการยุบสภาในประเทศไทย

การยุบสภาผู้แทนราษฎร   ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนั้น ได้มีรัฐบาลบางสมัยใช้อำนาจดังกล่าว  มาแล้วรวม  11  ครั้งคือ

1. สมัยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา   เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยุบสภาผู้แทนราษฏรเมื่อวันที่   11  กันยายน พ.ศ.  2480  เนื่องจากสภาผู้แทนราษฏรเสนอให้คณะรัฐบาลร่างพระราชบัญญัติงบประมาณที่มีรายรับ  และรายจ่ายโดยละเอียด ซึ่งรัฐบาลค้าน แต่สภามีมติเห็นด้วยคะแนน  45  ต่อ 31  รัฐบาลจึงยื่นใบลาออกต่อคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ยอมรับใบลาออก เนื่องจากสถานการณ์ขณะนั้นล่อแหลมต่อภาวะสงครามจึงมี พระราชกฤษฎีกายุบสภา
2. สมัย ม.ร.ว เสนีย์   ปราโมช  เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 15ุลาคม พ.ศ. 2488  เนื่องจากเห็นว่ามีการยืดอายุสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างสงครามมานานแล้วสมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นใหม่
3. สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช    เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 12 มกราคม  พ. ศ.2519   เนื่องจากมีเหตุวุ่นวาย และการแย่งชิงตำแหน่ง และผลประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกันมาก รวมทั้งพยายามบีบคั้นรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา
4. สมัยพล.อ.เปรม  ติณสูลานนท์   เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่ 45 ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่  19 มีนาคม พ.ศ. 2526 เนื่องจากได้มีการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประชาชนยังมีความคิดเห็นแตกต่างก้ำกึ่งกันอยู่ หากให้มีการเลือกตั้งตามวิธีใหม่  อาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองได้ จึงให้ยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามวิธีการเดิมไปก่อน 
5. สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์   เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่  46 ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรมี มติไม่ อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก    พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529   และจากการพิเคราะห์สาเหตุแห่งการไม่ยอมอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวรัฐบาลเห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรมิได้คำนึงถึง  เหตุผลในการตราพระราชกำหนด หากสืบเนื่องมาจากความแตกแยกในทางการเมืองของพรรคการเมืองบางพรรคและ   หากให้สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อไป ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินและกระทบถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ 
และจะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่
6. สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนทเป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล ชุดที่  47  ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 เมษายน  พ.ศ. 2531 เนื่องจากพรรคการเมืองต่างๆ  หลายพรรคไม่สามารถจะดำเนินการในระบบพรรคการเมืองได้อย่างมีเอกภาพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคการเมืองยังไม่ยอมรับรู้ความคิดเห็นหรือมติของสมาชิกฝ่ายข้างมากในพรรคของตนอันเป็นการขัดต่อ วิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนา ประเทศเป็นอย่างมาก จึงให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่
7. สมัยนายอานันท์  ปันยารชุน   เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่ 52 ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2535  เนื่องจากประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤตทางการเมืองต้องการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมืองกลับไปให้ประชาชน เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้สภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่
8.สมัยนายชวน  หลีกภัย  เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่   53 ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม  พ.ศ. 2538  เนื่องจากพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลแตกแยกจนไม่เป็นเอกภาพเป็นอุปสรรคต่อการบริหารบ้านเมือง และการพัฒนาประเทศ รวมทั้งปัญหา สปก.4-01 เกี่ยวกับที่ดิน
9. สมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่  54 ได้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งแตกแยกระหว่างพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน และนายกรัฐมนตรี ถูกกดดันให้ลาออก 
10. สมัย พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลคณะรัฐมนตรีคณะที่ 55 (11 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549) ได้เกิดการชุมนุมสาธารณะตั้งข้อเรียกร้องในทางการเมืองขึ้น ซึ่งแม้ระยะแรกจะอยู่ในกรอบของกฎหมาย แต่เมื่อนานวันเข้า การชุมนุมเรียกร้องได้ขยายตัวไปในทางที่กว้างขวางและอาจรุนแรงขึ้น รวมทั้งส่อเค้าว่าจะมีการเผชิญหน้า จนอาจปะทะกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและอาจมีการสอดแทรก ฉวยโอกาสจากผู้ที่ประสงค์จะเห็นความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง จุดชนวนให้เกิดความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน จนลุกลามถึงขั้นก่อการจลาจลวุ่นวาย สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ 

ครั้นจะใช้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองเข้าควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด หรือแม้แต่รัฐบาลได้พยายามดำเนินการตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ ด้วยการขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติในที่ประชุมรัฐสภาแล้ว ก็ยังไม่อาจแก้ไขปัญหาและความคิดเห็นพื้นฐานที่แตกต่างกัน ทั้งระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องกับรัฐบาล และระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องกับกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วย และประสงค์จะเคลื่อนไหวบ้าง จนอาจเกิดการปะทะกันได้ สภาพเช่นว่านี้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐสภา และความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยเฉพาะในขณะนี้ ซึ่งควรจะสร้างความสามัคคีปรองดอง 

การดูแลรักษาสภาพของบ้านเมืองที่สงบร่มเย็นน่าอยู่อาศัย น่าลงทุน และการเผยแพร่ความวิจิตรอลังการ ตลอดจนความดีงามตามแบบฉบับของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ เมื่อปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นความคิดเห็นในสังคมที่หลากหลาย และยังคงแตกต่างกันจนกลายเป็นคามขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงเช่นนี้ ครั้นจะดำเนินการเพื่อตรวจสอบความประสงค์อันแท้จริงของประชาชน โดยประการอื่น เพื่อให้ทุกฝ่ายหยั่งทราบ แล้วยอมรับให้เป็นไปตามกลไกในระบอบประชาธิปไตยก็ทำได้ยาก 

ทางออกในระบอบประชาธิปไตยที่เคยปฏิบัติมาในนานาประเทศ และแม้แต่ในประเทศไทย คือการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมือง กลับไปสู่ประชาชนด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปขึ้นใหม่ตามบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป

11. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 และคณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 พฤษภาคม 54 สาเหตุวิกฤติทางการเมือง